การบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 11 (Nurses’ perception of quality nursing documentations, 11th Region Community Hospitals)

ผู้แต่ง

  • Wanchanok Juntachum
  • Rapinya Vicheanpuk
  • Busara Kanchanabatr

คำสำคัญ:

การบันทึกการพยาบาล การบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพnursing documentation, quality nursing documentation

บทคัดย่อ

The purposes of this descriptive research study were first to find out nurses’ perception of quality nursing documentations, second to compare nurses’ perception of quality nursing documentations for several categories of nurse characteristics. The study population was registered nurses working at least one year in 11th Region Community Hospitals, Northeast Region. All of 616 nurses were included in this study. To measure nurses’ perception of quality nursing documentations, a questionnaire was developed for this study. This 20-item scale, which was based on a previous study, was scored on a five-point scale from 1 (strongly disagree) to 5 (strongly agree). The content validity was explored by seven experts and Cronbach’s alpha coefficient was 0.92 for its reliability. Of 616 questionnaires distributed by mail, 568 valid questionnaires were returned, yielding a response rate of 92.2%. Frequency, percentage, average, standard deviation, and One-Way ANOVA were performed for data analysis.

The results were as follows: 1) The overall nurses’ perception of quality nursing documentations was as a high level (=4.05). However, the study showed inadequate documentations of patients’ life patterns, patients’ self care and written records by providing correct, complete, clear and concise information. There were also insufficient documentations about discharge plan, assessment of patients’ perception for given knowledge, nursing diagnoses and care plans which modified continuously related to patients’ problems. 2) To compare nurses’ perception of quality nursing documentations for several categories of nurse characteristics, a difference existed among the perception of quality nursing documentations for groups of hospital size (F= 3.31, p-value= .037). However, the perception for groups of age, educational level, training experience of recording were not different (p-value >.05).

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อ 1) ศึกษาการบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพ และ 2) เปรียบเทียบการบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามกลุ่มคุณลักษณะพยาบาล ประชากรที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปี ในโรงพยาบาลชุมชนเขต 11 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด จำนวน 616 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพตามการรับรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารงานวิจัย มีจำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้คะแนนจาก 1 (เห็นด้วยน้อยที่สุด) ถึง 5 (เห็นด้วยอย่างยิ่ง) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.92 ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้รับคืน 568 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการศึกษาพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพรับรู้ว่าตนเองมีการบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.05) อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังพบน้อยในการบันทึกทางการพยาบาล ได้แก่ แบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย การดูแลตนเองของผู้ป่วย การบันทึกการพยาบาลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ได้ใจความ การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย การประเมินการรับรู้คำแนะนำที่ให้ และข้อวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนพยาบาลผู้ป่วยที่ปรับเปลี่ยนใหม่ตามปัญหาอย่างต่อเนื่อง 2) การเปรียบเทียบการบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพจำแนกตามกลุ่มคุณลักษณะ พบว่าขนาดของโรงพยาบาลชุมชนที่แตกต่างกัน พยาบาลมีการรับรู้การบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพแตกต่างกัน (F= 3.31, p-value= .037) ส่วนการรับรู้การบันทึกการพยาบาลที่มีคุณภาพจำแนกตามกลุ่มของอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การอบรมเกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลพบว่าไม่แตกต่างกัน (p-value >.05)

 

Downloads