การจัดการความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน(Chronic Pain Management of Older Persons Living in a Community)

ผู้แต่ง

  • Puttiporn Pitantananukune
  • Pattama Surit

คำสำคัญ:

การจัดการความปวดเรื้อรัง ผู้สูงอายุ chronic pain management, older persons

บทคัดย่อ

This descriptive research aimed to study chronic pain experiences, management strategies and outcomes, personal domain, health and illness domain and environmental domain of older persons living in a community. The sample were selected by purposive sampling 166 older persons living in a community of Khon Kaen province, experiencing chronic pain more than 3 months. Data was collected by interviewing. The questionnaire were used including personal data and chronic pain management. The data were analyzed using frequency and percentage.

The results of this study are as follow: 1) Personal domain: The most of female, medium-old and old-old, illiterate and had a primary school education level, widowed, divorced/separated and single, average income per month less than 2,000 baths and living alone had moderate pain intensity. 2) Health and illness domain: The most of the sample that had medical      co-morbidity 1 disease, 2 diseases and more than 3 diseases had moderate pain intensity. 3) Environmental domain: The most of the sample that poorer accessed to health care service had moderate pain intensity. 4) The most of the sample had pain more than one site, knee were the most commonly described pain site, the pain intensity were mild to moderate pain, The most qualities of pain reported by the samples were nociceptive pain and neuropathic pain, the pain was intermittent everyday, onset of pain perception was 1-5 years, duration of pain reported by the samples were minutes. Most samples reported pain impact were in hard to standing and moody. 5) The most of the sample used more than one pain management strategies, combined pharmacological method and non-pharmacological method. The most pharmacological method was analgesic ointment. The most non-pharmacological method was massage. Most samples received information about pain management strategies from health care professionals, self care, do at home. They believed that pain management strategies reduce pain intensity, do it when pain occurred and onset of pain management was 1-5 years. 6) The most of the sample reported the pain intensity was mild pain after used pain management strategies.

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความปวดเรื้อรังในด้านประสบการณ์ความปวดเรื้อรัง   
วิธีจัดการ ผลลัพธ์ของการจัดการ มโนมติของศาสตร์ทางการพยาบาลด้านบุคคล ด้านสุขภาพและความเจ็บป่วย และด้านสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 166 คน โดยคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์การจัดการความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ และร้อยละ

ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ด้านบุคคล พบว่าผู้สูงอายุหญิง เป็นผู้สูงอายุวัยกลางและผู้สูงอายุวัยปลาย ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนหนังสือและจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพสมรสหม้าย และโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 2,000 บาท และอาศัยอยู่คนเดียว ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงของความปวดปานกลาง 2) ด้านสุขภาพและความเจ็บป่วย พบว่าผู้สูงอายุที่มีจำนวนโรคประจำตัว 1 โรค 2 โรค และมากกว่าหรือเท่ากับ 3 โรค ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงของความปวดปานกลาง 3) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกในการเข้าถึงแหล่งบริการทางสุขภาพส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงของความปวดปานกลาง  4) ประสบการณ์ความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ตำแหน่งที่มีความปวด คือ ข้อเข่า มีความปวดเรื้อรังมาเป็นระยะเวลา 1-5 ปี เป็นความปวดชนิด nociceptive pain และ neuropathic pain มีความรุนแรงของความปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนใหญ่มีรูปแบบของความปวด คือ ความปวดเกิดขึ้นเป็นพักๆ มีระยะเวลาเป็นนาที และเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและอารมณ์มากที่สุด 5) วิธีจัดการความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ใช้วิธีจัดการความปวดมากกว่า 1 วิธี โดยเป็นวิธีใช้ยาร่วมกับวิธีไม่ใช้ยา ซึ่งวิธีใช้ยาที่ส่วนใหญ่เลือกใช้ คือ ยานวด ส่วนวิธีไม่ใช้ยาที่ส่วนใหญ่เลือกใช้ คือ การบีบนวดเอง โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลในการเลือกวิธีจัดการความปวดจากเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ ทำด้วยตนเอง ทำที่บ้าน คิดว่าปฏิบัติแล้วอาการปวดดีขึ้น ทำเมื่อมีอาการปวด และระยะเวลาที่เริ่มใช้วิธีจัดการความปวด คือ 1-5 ปี 6) ผลลัพธ์ของการจัดการความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุ พบว่าไม่ว่าผู้สูงอายุมีความปวดในตำแหน่งใดก็ตาม หลังจากใช้วิธีจัดการความปวดแล้ว ส่วนใหญ่ความรุนแรงของความปวดลดลงอยู่ในระดับเล็กน้อย

Downloads