ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง()

ผู้แต่ง

  • Sukanya Nadee
  • Ampronpan Teeranute
  • Watchara Boonsawat

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อาการเหนื่อยล้า ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Empowerment program, Fatigue, the Elderly with COPD

บทคัดย่อ

This quasi - experimental research aimed to investigate the effect of The effect of empowerment program on fatigue symptom in the elderly with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). The samples of this research were the elderly with COPD, Out-patient department, Lueamnat hospital, Amnatcharoen during July 2009 to March 2010. Thirty participants were purposively selected and equally assigned to the experimental and control group, 15 in each group. The experimental group received the empowerment program, while those in the control group did not. The instruments consisted of Demographic data form, the Medical Research Council dyspnea scale, the Perception of self power

questionnaire, the Mimi-Mental State Examination-Thai, the Multidimentionat Fatigue Inventory (MFI-20),the Empowerment program, and hand-book for fatigue management for the elderly with COPD. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.

The results of this research were as follows: 1) The elderly with COPD who received the Empowerment program had a mean score of fatigue was lower than that of before, at the significant level of .01. 2) The elderly with COPD who received the Empowerment program had a mean score of fatigue was lower than that the control group, at the significant level of .01

The results of this study indicated that the Empowerment program could reduce fatigue in the elderly with COPD. Therefore, this finding could be used develop as a guide for nursing care in the COPD patients and other chronic disease, and also providing baseline information for further research.

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ออาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อจัดการอาการเหนื่อยล้า กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลพยาบาลตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรค แบบวัดการรับรู้พลังอำนาจในตนเอง แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย  แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า  โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ  และคู่มือการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการเหนื่อยล้าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการเหนื่อยล้าต่ำกว่าผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการดูแลตามปกติในระยะหลังการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ สามารถบรรเทาอาการเหนื่อยล้าในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ จึงควรนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำวิจัยผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป

 

Downloads