การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์กลวิธีการพัฒนาคุณภาพชีิวิตวัยแรงงานที่ติดเชื่อเอชไอวี/เอดส์ (Community Participation in Analyzing Strategies to Enhance the Quality of Life of Working-Age People with HIV/AIDS)

ผู้แต่ง

  • Lamom Chaisiri
  • Somjit Daenseekaew

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์วัยแรงงาน community participation, enhance the Quality of Life, working-age people with HIV/AIDS

บทคัดย่อ

The present qualitative study adopted a participatory rural appraisal as an approach to investigate themeanings of quality of life (QOL) perceiving by working-age people (WAP) with HIV/AIDS, and to facilitatethe community in analyzing strategies to enhance the quality of life of WAP with HIV/AIDS in one municipaldistrict of Khon Kaen Province. The study was conducted in three phases from June to September, 2010. PhaseI was carried out to assess all relevant community information through observations, interviews, focus groupdiscussions, and meetings with the community leaders such as local administrative officers and primary care unitpersonnel. Phase II was then followed to analyze the meaning, determinants, and current level of QOL of WAPwith HIV/AIDS through focus group discussions and brainstorming. Lastly, Phase III was implemented throughseries of meetings to synthesize the strategies to enhance the quality of life of WAP with HIV/AIDS. A contentanalysis was performed to analyze the data and summarized the strategies for enhancing the QOL of WAP withHIV/AIDS. A plan to implement the research findings was then developed.Results revealed that the WAP with HIV/AIDS defined the quality of life as a good life condition, satisfactionwith current living status, acceptance of HIV infection, and an ability to live in the community withoutburdening others. The QOL comprised of five determinants including: 1) the economic aspect with the meaningsas the sufficient economy and earning from a stable job; 2) the social aspect with the reflection of the understandingand moral supports from others, and an ability to participate in social activities; 3) a good health to work andsupport themselves; 4) feeling of self-worth; and 5) having their own houses. These QOL determinants reflectedthe basic human needs. Deprivation of any components would result in barriers to the enhancement of QOL ofpeople with HIV/AIDS.This study congregated the community’s cooperation in terms of analyzing the needs of WAP with HIV/AIDS and synthesizing five strategies to enhance their quality of life as follows: 1) promoting the income; 2)encouraging their self-care; 3) improving the confidence of living with others and participating in the communityactivities; 4) increasing their self-worth; and 5) upgrading their own houses.This study led to a clearly defined the meanings of quality of life perceiving by the WAP with HIV/AIDS and the community. A cooperative situational analysis further guided the synthesis of strategies to enhancethe QOL of WAP with HIV/AIDS, which were suitable for the needs of the people in the community.

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ใช้การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาความหมายคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ และส่งเสริมให้ชุมชนวิเคราะห์กลวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ศึกษาในเขตเทศบาลตำ�บลแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2553 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ประชุมร่วมกับผู้นำ�ชุมชน 2) ระยะวิเคราะห์ข้อมูล องค์ประกอบของคุณภาพชีวิต และประเมินคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอดส์โดยการสนทนากลุ่ม และประชุมระดมสมอง และ 3) ระยะวิเคราะห์กลวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์โดยการประชุม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สรุปเป็นกลวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และวางแผนสู่การนำ�ผลการวิจัยปฏิบัติต่อไปผลการวิจัย พบว่าคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ หมายถึง การยอมรับสภาพความเป็นจริงของชีวิต มีความพึงพอใจในสภาพชีวิต และมีความสุขใจในการดำ�เนินชีวิต โดยมีองค์ประกอบ 5 ด้านดังนี้ 1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 2) การมีสุขภาพดีพอทำ�งานเลี้ยงครอบครัวได้ 3) การเข้าร่วมกิจกรรมสังคมอย่างเป็นสุข 4) มีคุณค่าจากการทำ�ประโยชน์ให้คนอื่น และ 5) มีที่อยู่อาศัยมั่นคง ปลอดภัย องค์ประกอบดังกล่าวเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตของบุคคล การขาดปัจจัยพื้นฐานจึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์การวิจัยนี้ทำ�ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมวิเคราะห์ความต้องการของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ร่วมกันค้นหากลวิธีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามความต้องการของคนในชุมชนใน 5 กลวิธีดังนี้ 1) การสร้างรายได้2) การส่งเสริมบทบาทของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในการดูแลสุขภาพตนเอง 3) เสริมสร้างความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในชุมชน 4) เพิ่มความมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม และ 5) การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มั่นคงปลอดภัย ผลการศึกษาครั้งนี้ เกิดจากการให้ความหมายของคุณภาพชีวิตโดยการรับรู้ของสมาชิกในชุมชน ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ และ หากลวิธีในการพัฒนาให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์วัยแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหมาะสมกับความต้องการของคนในชุมชน

Downloads