คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย Quality of life of the Elderly Ethnic in Chiang Rai Province

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์
  • วรัญญา มณีรัตน์
  • กรรณิการ์ เทพกิจ
  • อนัญญา เหล่ารินทอง
  • พัชรินทร์ วินยางค์กูล

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ ชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จำนวน 408 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการสนทนากลุ่ม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพชีวิตด้วย            สถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำมาวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.10) และมีอายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 75.70) มีระดับคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 85.47, S.D.= 11.63) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านร่างกาย  (X̄ = 22.70, S.D. = 3.67) ด้านจิตใจ (X̄ = 20.58, S.D. = 3.52) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (X̄ = 10.96, S.D. = 2.32) และด้านสิ่งแวดล้อม (X̄ = 24.32, S.D. = 4.51)  อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน

ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27