การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • กชกร แก้วพรหม
  • ชนกฤทัย ชื่นอารมณ์

คำสำคัญ:

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภาวะซึมเศร้า นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ เพื่อศึกษาลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  และภาวะซึมเศร้า   ร่วมกับหาความสัมพันธ์ระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้า และเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีปฏิสัมพันธ์ในบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและไม่มีภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา  จำนวน  588  คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า (CES-D)  และ  แบบวัดพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (FIRO Element B) ค่าความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค  ได้ค่าอัลฟ่าเท่ากับ  .86 และ .81 ตามลำดับ    วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน  และการทดสอบการทดสอบสถิติไคสแควร์  ผลการวิจัยพบว่า

1. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่รับรู้ว่าตนเองแสดงความเป็นพวกพ้องเท่ากับที่ตนต้องการ  ร้อยละ 43.7  คนอื่นแสดงความเป็นพวกพ้องน้อยกว่าที่ตนต้องการ ร้อยละ 44.1  รับรู้ว่าตนเองแสดงความมีอำนาจควบคุมน้อยกว่าที่ตนต้องการ ร้อยละ 54.1   คนอื่นแสดงความมีอำนาจควบคุมมากกว่าที่ตนต้องการ  ร้อยละ 61.7   รับรู้ว่าตนเองแสดงการเปิดเผยตนเองเท่ากับที่ตนต้องการ  ร้อยละ 42.2   และ คนอื่นแสดงการเปิดเผยตนเองน้อยกว่าที่ตนต้องการ  ร้อยละ 51.9

2. นักศึกษาพยาบาลมีภาวะซึมเศร้า  ร้อยละ  8.3

3. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับภาวะซึมเศร้า    มีความสัมพันธ์กันในทางลบกับภาวะซึมเศร้า  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ทั้งด้านความเป็นพวกพ้อง     (r = -.208,  p = .000 )    และด้านการเปิดเผยตนเอง        (r   =   -.258,  p = .000) ส่วนด้านความมีอำนาจควบคุม มีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับภาวะซึมเศร้า  อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .05,   p = .229)

4. กลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     ในด้านความเป็นพวกพ้อง  (c2 = 8.395,  p = .015)      และด้านการเปิดเผยตนเอง   (c2 =  7.231,    p = .027) ส่วนด้านความมีอำนาจควบคุม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (c2 = .007, p = .997)

ดังนั้นทางสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลจึงควรเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าด้วยการสำรวจและติดตามภาวะซึมเศร้าอย่างสม่ำเสมอ และให้การช่วยเหลือเพื่อป้องกันความรุนแรงของอาการดังกล่าว  ร่วมกับหาแนวทางการส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มนักศึกษาพยาบาลต่อไป

Downloads