ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (Effects of Self-Efficacy Enhancement Program on Nutritional Health Behavior of Pregnant Adolescents )

ผู้แต่ง

  • วิลัยรัตน์ พลางวัน
  • สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ teen pregnancy, perceived self-efficacy, nutritional health behavior

บทคัดย่อ

The objective of this quasi experimental research was to study the effects of the perceived self-efficacy enhancement program for nutritional health behavior among pregnant adolescents. The sample group consisted of 40 pregnant adolescents who received prenatal care at Srisaket Hospital. Selection criteria were based on groups of 20 persons for control and experimental group. Normal care service was provided to the control group; whereas the self-efficacy on nutrition enhancement program, designed by the researcher following the Self-Efficacy Theory of Bandura (1997), was presented to the experimental group. The instruments consisted of perceived self-efficacy and nutritional health behavior questionnaire that Cronbach’s Alpha Coefficient tested for reliability were 0.94 and 0.86. Data were analyzed by t-test.

The results were as follows: after experimental, the mean score of perceived self-efficacy and nutritional health behavior was higher than before (t = 2.938, P <0.01 and t = 4.728, P <0.001). The mean score for nutrition health behavior of experimental group was higher than the control group (t = 3.093, P <0.01), whearas the perceived self-efficacy was not different.

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติพฤติกรรมด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านโภชนาการตามกรอบแนวคิดของแบนดูรา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการทดสอบได้ค่าความเที่ยง (Cronbach’s Alpha Coefficient) 0.94 และ 0.86 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ T-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (t=2.938, P<0.01 และt=4.728, P<0.001) และกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการภายหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t=3.093, P<0.01) ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านโภชนาการภายหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน

Downloads