ความตรงตามเกณฑ์ชนิดทำนายของเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ 9-THAI โดยการทำนายอัตราการรอดชีพของผู้ป่วยล้างไต (Predictive Criterion Validity of a Health-Related Quality of Life 9-THAI by Predicting Survival Rates in Dialysis Patients)

ผู้แต่ง

  • อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา
  • ดรุณี จันทร์เลิศฤทธิ์

คำสำคัญ:

การล้างไต, คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ, การรอดชีพ, ความตรงตามเกณฑ์ชนิดทำนาย dialysis, health related quality of life, survival, predictive criterion validity

บทคัดย่อ

This study aimed to assess the predictive criterion validity of a health related quality of life measure, 9-THAI. The survival of dialysis patients within approximately 3 years after quality of life assessment was studied. A retrospective data collection study design was used. Data of patient characteristic and quality of life were based on the previous study that studied dialysis patients who visited Srinagarind Hospital during 1 March – 31 May 2005. The survival data were based on renal patient log book data and database of Civil Registration. The last date of patient status in this study was 31 December 2007.

Data of total 73 dialysis patients, 59 continuous ambulatory peritoneal dialysis patients (81%) and 14 hemodialysis patients (19%), were studied. The average age of patients was 56.02 years. Nineteen patients (26%) died within the study period, and the median follow up time in this study was 2.07 years. Based on the Cox Proportional Hazard Model, the 9-THAI physical and mental health status scores of zero or above were significantly associated with greater survival rates of these patients, when controlling for other factors including age, gender, marital status, education levels, modality types and diabetes comorbidity. The hazard ratio (95% CI) of 9-THAI physical health status scores of zero or above was 0.05 (0.01-0.44), when compared with the scores of under zero. The hazard ratio (95% CI) of 9-THAI mental health status scores of zero or above was 0.29 (0.08-0.89), when compared with the scores of under zero. The overall results indicated that 9-THAI physical and mental health status scores could predict survival of these patients, and the results confirmed predictive criterion validity of 9-THAI. In additions, further applications of 9-THAI could apply the cut-point criterion of zero score for both 9-THAI physical and mental health status scores. Patients who reported their health status scores of under zero level should be close monitored, since identifying and solving their problems would help protect their lives in the recent future.

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตรงตามเกณฑ์ชนิดทำนายของเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ 9-THAI ในการทำนายอัตราการรอดชีพของผู้ป่วยล้างไตในระยะเวลา 3 ปีต่อมา  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลคุณภาพชีวิตเป็นข้อมูลของผู้ป่วยล้างไตที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่าง 1 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นข้อมูลจากการศึกษาก่อนหน้านี้  ส่วนข้อมูลการรอดชีพได้จากทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยโรคไตและฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กำหนดวันสุดท้ายของสถานะผู้ป่วยในการศึกษานี้เป็นวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ผลการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยทั้งสิ้น 73 รายเป็นผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 59 ราย (81%) และผู้ป่วยฟอกเลือด 14 ราย (19%) อายุเฉลี่ย 56.02 ปี  มีผู้ป่วยเสียชีวิต 19 ราย (26%)  ระยะเวลามัธยฐานในการติดตามของการศึกษาเท่ากับ 2.07 ปี  ผลการวิเคราะห์ด้วย Cox Proportional Hazard Model พบว่า เมื่อควบคุมปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ, เพศ, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, ชนิดการรักษา และโรคร่วมเบาหวาน  คะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายและใจของ 9-THAI ที่มีค่าตั้งแต่ศูนย์ขึ้นไป มีผลให้อัตราการรอดชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต Hazard Ratio (ช่วงเชื่อมั่น 95%) ของคะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายตั้งแต่ศูนย์ขึ้นไปเท่ากับ 0.05 (0.01-0.44) เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายที่ต่ำกว่าศูนย์  ส่วน Hazard Ratio (ช่วงเชื่อมั่น 95%) ของคะแนนคุณภาพชีวิตด้านใจตั้งแต่ศูนย์ขึ้นไปเท่ากับ 0.29 (0.08-0.89) เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนคุณภาพชีวิตด้านใจที่ต่ำกว่าศูนย์  การศึกษาแสดงว่าคะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายและใจของ 9-THAI สามารถทำนายอัตราการรอดชีพได้ จึงมีความตรงตามเกณฑ์ชนิดทำนาย  นอกจากนี้ การแปลผลคะแนนในการนำไประยุกต์ใช้นั้น สามารถใช้เกณฑ์คะแนนศูนย์ได้  โดยผู้ป่วยล้างไตที่มีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านกายและใจต่ำกว่าศูนย์  ควรได้รับการค้นหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขปัญหาอันอาจนำไปสู่การเสียชีวิตต่อไป

Downloads