การศึกษาอาการเตือนและการจัดการอาการเตือนของพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (Study of Warning signs and Nurse, s management in Patients who at Risk to Acute Renal Failure, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital)

ผู้แต่ง

  • ยุพา แก้วร่วมเพชร
  • กล้าเผชิญ โชคบำรุง

คำสำคัญ:

อาการเตือน ไตวายเฉียบพลัน การจัดการอาการของพยาบาล warning signs, Acute renal failure, Nursing management warning signs, Nursing management

บทคัดย่อ

This research aimed to investigate warning signs of acute renal failure (ARF), the association between warning signs and renal function changes, and nursing management of pre-ARF warning signs. A retrospective review of medical records was conducted for 180 patients who were diagnosed with ARF and admitted to Maharat Nakhon Ratchasima Hospital during January 1, 2010 and December 31, 2010. Data collection with collection from, analysis with Pearson’s correlation coefficients and analyze nursing management activities. Results indicated that ARF warning signs consisted of fever, dyspnea, altered consciousness, fatigue, decreased of average blood pressure and decreased average amount of urine before ARF developed. The pre-ARF amount of urine per hour was significantly correlated with the post-ARF glomerular filtration rate(r = 0.284, p = 0.000). Nursing management of pre-ARF symptoms could be categorized into four groups; 1) providing nursing therapeutic interventions, 2) providing treatments as prescribed by physicians, 3) reporting symptoms, and 4) symptom monitoring and surveillance.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการเตือนก่อนที่จะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ความสัมพันธ์ระหว่างอาการเตือนกับการเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของไต  และวิธีการจัดการอาการเตือนของพยาบาล  ศึกษาย้อนหลังจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วยผู้ใหญ่  ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 180 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูล ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาข้อมูลการจัดการอาการเตือนของพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า อาการเตือนที่พบก่อนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน มี 6 อาการ ได้แก่ มีไข้ หายใจหอบ ระดับการรู้สติเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย  ระดับความดันโลหิตเฉลี่ยลดลง  และค่าเฉลี่ยปริมาณปัสสาวะลดลง โดยอาการเตือนที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราการกรองของไตคือปริมาณปัสสาวะเฉลี่ยต่อชั่วโมง(r = 0.284,         p = 0.000) และวิเคราะห์จำแนกการจัดการอาการเตือนของพยาบาล ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 4 กลุ่มคือ 1) การให้การบำบัดทางการพยาบาล 2) การให้การรักษาตามแผนการรักษา 3) การรายงานอาการ  4) การติดตาม/เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของอาการ

Downloads