ผลของการใช้โปรแกรมการดูดเสมหะแบบประยุกต์ต่อความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงและสัญญาณชีพในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังผ่าตัดสมองที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (Effects of suctioning apply program on oxygen saturation and vital signs post brain surgery in head injury patients with mechanical ventilator)

ผู้แต่ง

  • ปาริชาต หาญมานพ
  • อำพน ศรีรักษา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูดเสมหะแบบประยุกต์ บาดเจ็บศีรษะ หลังผ่าตัดสมอง Suctioning Apply Program, Head Injury, post brain surgery

บทคัดย่อ

This experimental research study aimed to test the effects of the Suctioning Apply Program  (SAP) on oxygen saturation  and  vital signs among post  brain surgery in head injury patients  with mechanical ventilator who were admitted in Surgical Intensive Care Unit, Surin Hospital.  The purposive sampling method was used to select 20 patients and assign equally into the experimental and the control groups, 10 patients each. The measurement were oxygen saturation and vital signs

before suctioning and immediately, two-minute, and five- minute after suction pass.  Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Mann-Whitney U test, Friedman test and Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test. the Suctioning Apply Program had no effects on oxygen saturation, systolic, diastolic, mean arterial pressure within 5 minutes after intervention. The program affected heart rate and respiratory rate after intervention. These effects were the same as a routine suction procedure. Thus, this program should be used in post brain surgery in head injury patients with mechanical ventilator.

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการดูดเสมหะแบบประยุกต์ต่อความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงและสัญญาณชีพในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังผ่าตัดสมองที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูดเสมหะโดยใช้โปรแกรมการดูดเสมหะแบบประยุกต์ ข้อมูลที่บันทึกประกอบด้วย ความอิ่มตัวของออกซิเจนและสัญญาณชีพ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 2 นาที และหลังการทดลอง 5 นาที  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U Test, Friedman Test และ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test  ผลการวิจัยสรุปได้ว่าโปรแกรมการดูดเสมหะแบบประยุกต์ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก ในเวลา 5 นาที หลังการทดลอง แต่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นหลังการทดลองทันที และไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังการทดลอง 2 นาทีและ 5 นาที ซึ่งผลที่ได้เหมือนกับวิธีการดูดเสมหะตามปกติ ดังนั้นวิธีการดูดเสมหะแบบประยุกต์สามารถใช้ในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

Downloads