ผลของการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกายและ ค่าความดันโลหิตในบุคคลที่อยู่ในระยะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • พรหมินทร์ เมธากาญจนศักดิ์
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์
  • เสาวลักษณ์ สัจจา

คำสำคัญ:

การจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย สมรรถภาพทางกาย ระยะก่อนความดันโลหิตสูง exercise self-management, Physical Fitness, Prehypertension

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกายและค่าความดันโลหิตในบุคคลที่อยู่ในระยะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง  กลุ่มตัวอย่างรวม 70 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย ประกอบด้วย 1) การเฝ้าระวังตนเอง 2) การมีทักษะหรือกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงเพื่อ ควบคุมการดำเนินของโรคและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 3) การเสาะแสวงหาคำแนะนำในการควบคุมการดำเนินของโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ 4) การปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือกิจกรรมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต   ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการให้บริการสุขภาพตามปกติ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานได้แก่ Paired Sample t-test, Independent t-test และ 95% CI กำหนดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

                   ผลการวิจัยพบว่า  

         1. ด้านสมรรถภาพทางกาย หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (= 28.05 , SD = 4.16) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (= 35.34 , SD = 6.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05; 95%CI : 4.69  ถึง 9.89) ดัชนีมวลกายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05; 95%CI : 1.29 ถึง 4.15) ความจุปอด(= 32.34 , SD = 8.36) มากกว่ากลุ่มควบคุม(= 19.46 , SD = 5.15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05; 95%CI : -16.19 ถึง -9.57) แรงบีบมือ (= 0.42 , SD = 0.06) มากกว่ากลุ่มควบคุม (= 0.36 , SD = 0.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05; 95%CI : -0.12 ถึง -0.05) แรงเหยียดขา (= 0.99 , SD = 0.23) มากกว่ากลุ่มควบคุม(x= 0.80 , SD = 0.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05; 95%CI : -0.31 ถึง -0.08) และการเดิน 1ไมล์เวลา (=17.08, SD = 0.80) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม(=21.84, SD = 1.70)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05; 95%CI : 4.17 ถึง 5.43) ยกเว้นความอ่อนตัว (=13.46, SD = 3.79)มากกว่ากลุ่มควบคุม (x=11.97, SD = 3.92) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value >.05; 95%CI : -3.33 ถึง .35)

                   2. ด้านความดันโลหิต หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความดันโลหิตค่าบน (= 117.20, SD = 7.08) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (= 136.49 , SD = 11.92 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05; 95%CI : 14.61 ถึง 23.96) และความดันโลหิตค่าล่าง (= 78.23 , SD = 3.36 ) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (= 86.46 , SD = 7.47 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05; 95%CI : 5.46 ถึง 10.99)

การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพโดยรวม และค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

Downloads