ความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดอัตรากำลังพยาบาล สภาพแวดล้อมในการทำงานกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Association between nurse staffing, work environment and nurse’s health relate quality of life in general hospitals northeastern Thailand.

ผู้แต่ง

  • บุษบา วงค์พิมล
  • อภิญญา จำปามูล

คำสำคัญ:

อัตรากำลังพยาบาล, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, SF-36, nurse staffing, nurse work environment, HRQOL

บทคัดย่อ

The objective of this research was to analyze relationships between nurse staffing, work environment, and nurse’s health-related quality of life, and to determine predictors of nurse’s health-related quality of life in general hospitals, northeastern Thailand. The subjects consisted of 91 nursing units. Major findings were 1) Nursing hours per patient day had low negative correlation with nurse’s mental health relate quality of life, and nursing staff mix had low positive correlation with nurse’s health relate quality of life in physical functioning dimensions at .05 level of significance. 2) The work environment had a moderate positive correlation with nurse’s health-related quality of life at .01 level of significance. 3) The multiple regression analysis revealed that 18.6 percent of variance in the nurse’s health-related quality of life was predicted by nurse staffing and work environment (R2=.186,p-value=.000).

การศึกษาความสัมพันธ์และการทำนายของการจัดอัตรากำลังพยาบาล สภาพแวดล้อมในการทำงานกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือ หอผู้ป่วยจำนวน 91 หอผู้ป่วย ผลวิจัยพบว่า 1) ชั่วโมงการพยาบาลต่อวันผู้ป่วยนอนมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตใจ และร้อยละการผสมผสานอัตรากำลังพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ในมิติความสามารถในการทำหน้าที่ด้านร่างกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) การจัดอัตรากำลังพยาบาล และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของพยาบาลได้ร้อยละ 18.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (R2=.186,p-value=.000)

 

Downloads