ประสบการณ์ภาวะเรื้อรัง : ความหมายและการจัดการดูแล Chronic Conditions Experiences: Meaning and Care Management

ผู้แต่ง

  • จารุณี สรกฤช
  • ขนิษฐา นันทบุตร

คำสำคัญ:

ภาวะเรื้อรัง ประสบการณ์ภาวะเรื้อรัง การจัดการดูแล วิจัยเชิงคุณภาพ chronic conditions, care management, qualitative research

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ภาวะเรื้อรังของผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง ความหมาย
ภาวะเรื้อรัง การจัดการดูแลของผูที้่มีภาวะเรื้อรังและครอบครัว ศึกษาในตำบลแหง่ หนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555-พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ผู้ให้ข้อมูล 90 คน ประกอบด้วย ผู้ที่มีภาวะเรื้อรังผู้ดูแล
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง ได้แก่ อาสาสมัคร แกนนำกลุ่มทางสังคม ผู้นำชุมชน พยาบาล
วิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่มและ
การศึกษาเอกสาร ความน่าเชื่อถือข้อมูลใช้หลักการตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิง
เนื้อหา ผลการศึกษา พบวา่ ผูที้่มีภาวะเรื้อรังผูดู้แล และผูที้่เกี่ยวขอ้ งในการดูแลชว่ ยเหลือผูที้่มีภาวะเรื้อรังในชุมชน
ให้ความหมายภาวะเรื้อรังว่าเป็นชีวิตที่ขาดคนดูแล ไม่มีงานทำไม่มีรายได้ และขาดสวัสดิการช่วยเหลือ การจัดการ
ดูแลผูที้่มีภาวะเรื้อรังและครอบครัวการจัดการดูแลตนเองเปน็ วิธีที่ผูที้่มีภาวะเรื้อรังปฏิบัติเพื่อใหส้ ามารถดำเนินชีวิต
อยู่ได้กับภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในสังคมชนบทเกษตรกรรม ลักษณะการทำงานที่ต้องใช้แรงงานแลกกับผลผลิต และ
ผลผลิตก็หมายถึงตัวเงินที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ทำให้
ผู้ที่มีภาวะเรื้อรังให้ความสำคัญต่อการทำงานแม้ว่าจะอยู่ในภาวะเจ็บป่วย การจัดการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง
ในชุมชน เป็นการ “เฮ็ดเวียกเฮ็ดงาน” “เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน”และ “ขะลำอยู่ ขะลำกิน”การจัดการโดยครอบครัว ผู้ดูแล
ในครอบครัวสว่ นใหญเ่ ปน็ บุตรหลานที่มีสายเลือดเดียวกัน ลูกสาว ลูกชาย พี่นอ้ ง ลักษณะการดูแลผูที้่มีภาวะเรื้อรัง
ของครอบครัว แตกต่างกันตามระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง ความรุนแรงของ
การเจ็บป่วยครอบครัวส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการดูแลผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง ทั้งจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่จะเป็นคน
ดูแล และภาวะเศรษฐกิจผู้ดูแลต้องแบกรับหลายบทบาททั้งผู้หารายได้และผู้ดูแล การจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง
โดยครอบครัว เป็นการดูแลแบบ “คือบ้านคือเมือง” และ “ตามมีตามเกิด”

Downloads