การนำโมเดลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ไปใช้ในพื้นที่

ผู้แต่ง

  • เพลินตา ศิริปการ

คำสำคัญ:

โมเดลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยเอดส์ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ การนำโมเดลไป ใช้ในพื้นที่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ได้นำโมเดลการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วย ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างขึ้น มาใช้ในสถานพยาบาลทั้งระดับตติยภูมิ ทุติยภูมิ และปฐมภูมิ ดำเนิน การวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2552 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีมวิจัยและ เจ้าหน้าที่ 20 คน จากโรงพยาบาลขอนแก่น ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นและศูนย์ สุขภาพชุมชน ผู้ป่วย 51 คน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลขอนแก่น และผู้ป่วย 25 คน จากโรงพยาบาลบ้านไผ่ ดำเนิน การวิจัยโดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทั้งผู้ให้บริการ ผู้ป่วยและผู้วิจัยในการประชุม และดำเนินการจัดระบบ บริการตามรูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการติดตามประเมินผล

ผลการศึกษา พบว่า ในการจัดระบบบริการตามรูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้ รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ต้องมีการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านโรคเอดส์ให้ทราบวัตถุประสงค์และ ประโยชน์ของการสร้างเสริมสมรรถนะผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ในการการป้องกันการดื้อยา การป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยรายใหม่ โดยการสื่อสารให้ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการเข้าใจ และมีการร่วม กันดำเนินการดังนี้ 1) กำหนดขั้นตอนในการให้บริการ ในระบบ One - stop service ซึ่งเริ่มจากการให้บริการตรวจ ประเมินสภาพร่างกายและจิตสังคม การให้การรักษา การให้คำปรึกษา กระบวนการกลุ่ม เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะทาง จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ การฝึกอาชีพและการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องมีการเตรียมการทั้งสถานที่ บุคลากร เวชภัณฑ์ องค์ความรู้และเทคโนโลยี เครื่องมือ และระบบข้อมูล 2) กำหนดขั้นตอนเพื่อความต่อเนื่องของการบริการ ในการเยี่ยมบ้านทั้งโดยเจ้าหน้าที่ และกลุ่มผู้ป่วย ระบบส่งต่อ และการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคม 3) มีการ พัฒนาแนวทางการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ เช่น แนวทางการดำเนินการการเตรียมผู้ป่วยที่จะได้รับยาต้านไวรัส เอดส์ แนวทางการให้คำปรึกษา 4) สนับสนุนผู้ป่วยให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีการบริหารงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรจากแหล่งทุนต่างๆ ในการช่วยเหลือด้านงานอาชีพเพื่อหารายได้ของผู้ป่วย จัดตั้งเป็นกองทุนหรืองบ ส่วนกลางโดยมีผู้ติดเชื้อและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นคณะกรรมการในการบริหารงบประมาณและการเบิกจ่ายเงิน ของกองทุนในการทำกิจกรรมหารายได้ในงานอาชีพ โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้ร่วมพิจารณาอนุมัติการใช้เงินของ โครงการ 5) ร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลให้ต่อเนื่อง โดยการเยี่ยมบ้าน สนับสนุนงบประมาณแก่โครงการเยี่ยมบ้าน และวางแผนพัฒนาบรรจุในแผนแม่บทของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของโครงการ 6) พัฒนาและสนับสนุน โครงการรวมกลุ่มผู้ติดเชื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 7) การพัฒนาระบบการเชื่อมต่อ ของการดูแลผู้ติดเชื้อในสถานพยาบาลแต่ละระดับ โมเดลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้าน ไวรัสเอดส์นี้สามารถประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลทุกระดับได้ โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่

This study is an action research which implementing the developed model on self-efficacy devolvementof AIDS patients receiving (ART) in tertiary, secondary and primary health care facilities between October 2008and September 2009. Emphasizing participation of stakeholders which included 20 members of research teamand staff of Khon Kaen Regional Hospital, primary care units (PCU) and Banphai Community Hospital; 51 AIDSpatients receiving ART at the Khon Kaen Regional Hospital and 25 patients from Banphai Community Hospital.The research process fully emphasized participation of all stakeholders including health team, patients and researchteam in jointing the meeting, implementing the planed health service system and evaluation of service system.The results showed that in order to implementing the developed model in self efficacy development ofAIDS patients receiving ART, cooperation with relevant stakeholders on AIDS issues to understand the objectivesand benefits of self efficacy development of AIDS patients receiving ART on prevention of drug resistance andprevention of spread of the disease in new patients. Communication to make both health personnel and patientsunderstands and jointly implementing: 1) Identified the service flow in one-stop service which was starting fromassessing the physical and psychosocial status, provide treatments and counseling, group process to improvepsychosocial and spiritual capacity, occupational training and economic development which needed variouspreparation including venue, personal, knowledge ad technology, medicines , equipments and informationsystem 2) Identify the process for continuity of home visit both by the health personnel and patient group, referralsystem and social and economic development. 3) Development of practice guidelines such as patient preparationfor ART and counseling practice guidelines. 4) Supporting patients to live happily in the society, managementof financial support from various sources for income generating activities of the patients, established the fundsfor patients’ income generating activities with the support of health personnel as administrative board members5) Corporately developing continuity of care system development through home visit, financial support on homevisit project and incorporate it to the hospital master plan for continuity of care 6) Developed and support thepatient group activities to share their experiences and supporting each other 7) Developed the referral systemamong each health facility levels. Self- efficacy development model for AIDS patients receiving ART could beapplied in all level of health care facilities by adapting to fit each area context.

Downloads