พฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงหลังการฝึกอบรมด้านสุขภาพแก่อาสาสมัครชุมชน Behavioral Change regarding Multiprofessional Intervention and Training for Ongoing Volunteer-Based Community Health Programme: What changed and what not?

ผู้แต่ง

  • เกศินี สราญฤทธิชัย

บทคัดย่อ

ABSTRACT

This qualitative research was part of the project title “Multiprofessional Intervantion and training for Ongoing Volunteer-based Community Health Programs in the Northeast  of Thailand. The aim of the research was to explore the change of health behavior of community people in Northeasr of Thailand after the intervention. Particiapnts were community people and health volunteer which were comprising of 12 community people and 15 health volunteer. Participants were recruited by purposive sampling. Data were collected by using indepth interviews, particiapant and non participant observations, focus group discussions, and field note records.  Data collecting and data analyzing were done simultaneously. Results revealed that the changed behaviors had 2 characteritics: 1) easily changed behaviors and 2) hard changed behavior.  The behaviors that could be changed easily were the behaviors that were fun, community people can do by themselves, and contributed to good health in a short time such as exercise. But the hard changed behavior was the addicted behavior, the behaviors that community people cannot do by themselves, and could not contribute to good health in a short time such as alcohol consumption or smoking. Factors influencing on changed behavior were 1) enjoinable activity 2) addiction 3) having good health in the short time 4) the participation of community people 5) health volunteer and 6) health resources. The research recommended that for health behavior promotion, we need to pay attention on positive approaches such as provide enjoinable activity and promote their self reliance. On the other hand, the negative approaches such as threaten to life or bad health presentation for addicted behaviors were recommended for further intervention.

งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การฝึกอบรมด้านสุขภาพแก่อาสาสมัครชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย”  (Multiprofessional Intervention and training for Ongoing Volunteer-based Community Health Programs in the Northeast  of Thailand: MITV-NET ) มีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายหลังการดำเนินการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครชุมชน และชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 27 คน เป็นชาวบ้าน 12 คนและอาสาสมัครชุมชนจำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การทำสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม และการจดบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลได้กระทำไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ  ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินงานฝึกอบรมด้านสุขภาพแก่อาสาสมัครชุมชนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพฯ มี 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย  และพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก พฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นพฤติกรรมที่คนในชุมชนได้ทำร่วมกันและก่อให้เกิดความสนุกสนาน ทำให้สุขภาพดีขึ้นหรือหายจากการเจ็บป่วยภายหลังการทำกิจกรรมในระยะเวลาสั้น และเป็นพฤติกรรมที่สามารถทำได้ด้วยตนเองและไม่เกิดจากการติด ได้แก่  พฤติกรรมการออกกำลังกาย และการเตรียมการหรือประกอบอาหาร  สำหรับพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก  เป็นพฤติกรรมที่บุคคลได้กระทำและติดกับพฤติกรรมนั้นอยู่แล้ว ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น การเคี้ยวหมาก และการรับประทานอาหารดิบ  ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลค่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมี  6 ประการคือ 1) ความสนุกสนานในการทำพฤติกรรม  2) การติดพฤติกรรม   3) การมีสุขภาพดีภายในระยะเวลาสั้น  4)  การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  5) ความสามารถของแกนนำหรืออาสาสมัครในชุมชน  6) แหล่งช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านสุขภาพภายในชุมชน  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนและก่อให้เกิดความสนุกสนานและวิธีการที่ทำให้คนในชุมชนเลิกติดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี การสร้างความกลัวในพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพเป็นสิ่งหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้

Downloads