การพัฒนาวัดในประเทศไทยเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน

Main Article Content

Phrakru Sangkarak Wuttthipong Wudฺdฺvamฺso
Intha Siriwan
Sin Ngamprakhon
Veera Supa

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาวัดในประเทศไทยเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน” มีวัตถุประสงค์ ศึกษาสภาพทั่วไปของวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน ศึกษาการพัฒนาวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน และนำเสนอแนวทางการพัฒนาวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเชิงผสมผสาน


ผลการวิจัยการพัฒนาวัดในประเทศไทย เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน พบว่า


  1. วัดที่มีการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธจะนำเสนอเนื้อหาให้แก่นักท่องเที่ยวที่ประกอบด้วย ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ประเพณี ความเชื่อหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้บนพื้นฐานที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวเกิดกระบวนการเรียนรู้ คือ เกิดจากการรับรู้ และการคิด, เกิดจากการปฏิบัติ, การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และ เรียนรู้ให้เข้าถึง เพื่อรู้จักตนเองอย่างแท้จริง

  2. วัดแต่ละวัดจะมีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในลักษณะที่คล้ายๆ กัน คือ เรื่องห้องน้ำ ที่พัก อาหาร ลานจอดรถ ฯลฯ

  3. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของวัด ชุมชน ภาครัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในด้านต่างๆ น้อยมาก อีกทั้งวัดยังขาดบุคลากรที่ชำนาญด้านภาษา และงบประมาณยังคงเป็นข้อจำกัดประการสำคัญในการพัฒนาวัด

จากผลการวิจัย สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน มีองค์ประกอบหลัก คือ กระบวนการบริหารจัดการ, เหมาะสมกาลเทศะ, แหล่งเรียนรู้ และ การท่องเที่ยวอาเซียน

Article Details

บท
บทความวิจัย