ผลของการใช้โปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมความปรองดอง สำหรับวัยผู้ใหญ่

Main Article Content

Ari Pumprawai

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมความปรองดองสำหรับวัยผู้ใหญ่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานทำสวน และ พนักงานทำความสะอาดของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 43 คน ประชากรทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมความปรองดองวัยผู้ใหญ่ พัฒนาจากแนวคิดด้านจิตวิทยา 1. พฤติกรรมส่วนบุคคล พฤติกรรมระหว่างบุคคล 2. แนวคิดและกระบวนการสร้างความปรองดอง การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในกลุ่ม เนื้อหาประกอบด้วย 1) สาเหตุของความขัดแย้งและแนวทางแก้ไข 2) พฤติกรรมส่วนบุคคล  3) กิจกรรมเสริมสร้างความปรองดอง  ระยะเวลาการจัดกิจกรรม 12 สัปดาห์ รวม 30 ชั่วโมง 10 กิจกรรม ภายใน 5 สัปดาห์แรก และปฏิบัติงานร่วมกันอีก 7 สัปดาห์ ประเมินพฤติกรรมเสร็จสิ้นการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบ ประเมินพฤติกรรมความปรองดอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง เพศชาย 28 คน เพศหญิง 25 คน อายุเฉลี่ย 42.8  ระดับการศึกษา ประถมศึกษา  หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนพฤติกรรมระดับต้องปรับปรุง ร้อยละ 23.25 ลดลงเหลือ ร้อยละ 6.68  คะแนนพฤติกรรมระดับดี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30.28 เป็นร้อยละ 65.11 พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ  เมตตามโนกรรม การคิดดี มองกันในแง่ดี มีความรัก ความเมตตาต่อกัน รู้จักให้อภัยต่อกัน คะแนนเฉลี่ยพฤติความปรองดอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย