การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศไทย

Main Article Content

Phramaha Chit Tanachito

บทคัดย่อ

 


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ) เพื่อศึกษาการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐาน 5 สำนักในประเทศไทย 3)เพื่อเสนอรูปแบบการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะสมกับประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในประเทศไทย  5 สำนัก คือ ) สำนักกรรมฐานแบบพอง-ยุบตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี มีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก ใช้สติปัฏฐาน 4 มีการกำหนด ยุบหนอ-พองหนอ เป็นอารมณ์หลัก 2) แบบพุท-โธตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ใช้กายคตาสติมีการกำหนดพุท-โธ เป็นอารมณ์หลัก 3) แบบสัมมา-อะระหัง ตามแนวพระมงคลเทพมุนี ใช้สติปัฏฐาน 4 มีการกำหนดสัมมา-อรหังเป็นอารมณ์หลัก 4) แบบเคลื่อนไหวตามแนวหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ใช้กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีการเคลื่อนไหวร่างกาย 5 จังหวะเป็นอารมณ์หลัก 5) แบบอานาปานสติตามแนวพุทธทาสภิกขุ ใช้อานาปานสติเป็นอารมณ์หลัก มีการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4  คือ กาย เวทนา จิต และธรรม เพราะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระไตรปิฎก  และมีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติกรรมฐานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย