อิทธิพลของภาษาโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ที่มีต่อการใช้ภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง Influences of Advertising Language on Television toward Lower Northeastern Rajabhat University Students’ Thai Language Usage

Main Article Content

Sariyagan Yeekengaem

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาษาโฆษณาที่มีต่อการใช้ภาษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในด้านการพูด   2)เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาษาโฆษณาที่มีต่อการใช้ภาษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในด้านการเขียน   และ3) เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของภาษาโฆษณาที่มีต่อการใช้ภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  รวมทั้งสิ้นจำนวน 571  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ใช้การหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต(X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)


                ผลการศึกษาพบว่า


  1. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มักจะนำเอา

ภาษาโฆษณาไปใช้ในการพูดมากที่สุด  โดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อน


  1. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ไม่นิยมนำภาษาโฆษณาไปใช้ในการเขียน

  2. เมื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของภาษาโฆษณา ที่มีต่อการใช้ภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทั้ง 6 แห่ง พบว่าไม่มีความแตกต่างทั้งในด้านการพูดและการเขียน

  3. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ส่วนใหญ่มักจะเลียนแบบการใช้ภาษาโฆษณามาจากสื่อโทรทัศน์

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญจมาศ พระชมพู. มองโฆษณาอย่างวรรณกรรม. (14 กรกฎาคม 2556) (ออนไลน์). (อ้างเมื่อ 22 เมษายน 2561) จาก http://taeng-m3.blogspot.com
พนมพร นิรัญทวี. (2550). กลวิธีการใช้ภาษาในข้อความโฆษณา : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ ภาษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรจิต สมบัติพานิช. (2551). ยุทธวิธีการวางแผนสื่อโฆษณา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัททิรา กลิ่นเลขา (2559). พฤติกรรมการเปิดรับชมโทรทัศน์ของวัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่าง. คณะนิเทศศาสตร์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รวี อ่างทอง. (2538). ผลของภาษาโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีต่อการใช้สำนวนภาษาของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
เอแบคโพลล์, สำนักวิจัย. (2546). ผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ต่อเด็ก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.