การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีศึกษาเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว

Main Article Content

วัชราภรณ์ สรุภี
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์

Abstract

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีศึกษาเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าของเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว (2) การทํากิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าของนักท่องเที่ยวใน ประเทศ และระหว่างประเทศของเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว (3) แนวทางการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าของเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว และ (4) เสนอแนวทางการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 800 ตัวอย่าง เมืองละจํานวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ประกอบการบรรยายเชิงพรรณนาเนื้อหาที่อยู่ในบริบทของแต่ละเมือง พบว่า เมืองน่านและเมืองหลวงพระบางมีความ เหมาะสมในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในระดับมากที่สุด (\bar{X} =4.45) และ (\bar{X}=4.30) ตามลําดับ โดยเมือง น่านมีความโดดเด่นในเรื่องการรักษาความเดิมแท้ของศิลปวัฒนธรรม และสภาพภูมิทัศน์มากที่สุด (\bar{X} =4.54) ส่วนเมืองหลวง พระบางมีความโดดเด่นในเรื่องความเรียบง่ายในการดําเนินชีวิตของคนหลวงพระบางมากที่สุด (\bar{X} =4.37) นักท่องเที่ยวมีส่วน ร่วมในการทํากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของเมืองน่าน และเมืองหลวงพระบางในระดับมากที่สุดทั้งสองเมือง (\bar{X} =4.14) และ (\bar{X} =4.21) ตามลําดับ และแนวทางในการพัฒนาให้เมืองน่าน และเมืองหลวงพระบางเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าได้ มากที่สุด คือ การเสริมสร้างการต้อนรับด้วยไมตรีจิตในธุรกิจการท่องเที่ยวและประชาชน (\bar{X} =4.61) และ (\bar{X} =4.31) ตามลําดับ และแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี 3 ขั้นตอน คือ (1) สํารวจ องค์ประกอบของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว (2) สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าอย่างสร้างสรรค์ และ (3) ใช้ 5 แนวทาง ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้า 

 

Slow Tourism Destination Development in Southeast Asia:  Case Study Nan Province of Thailand and Luang Prabang Province of Laos PDR 

          This research aims to study the elements of slow tourism destination, doing slow tourism activities of domestic tourists and international tourists, guidelines to slow tourism destination development of Nan province of Thailand and Luang Prabang province of Laos PDR and propose guidelines for other slow tourism destination development in Southeast Asia using questionnaire from 400 samples of each town (total 800 samples). The results indicated that Nan and Luang Prabang are suitable for development as a slow tourism destination. Nan is most unique in maintain the most authenticity of culture and landscape (\bar{X} =4.54) as for Luang Prabang is most unique in simple way of life of people  (\bar{X} =4.37). Most participate slow tourism activities related to tourist attractions’ identity of Nan and Luang Prabang (\bar{X} =4.14) and (\bar{X} =4.21). And most agreed guidelines developing Nan and Luang Prabang as a slow tourism destination is promoting warm welcome from the tourism businesses and people (\bar{X} =4.61) and  (\bar{X} =4.31). The guidelines to develop other slow tourism destination in Southeast Asia are 3 stages: (1) survey tourism destination elements (2) create slow tourism activities and (3) use 5 guidelines to develop slow tourist destination. 

Article Details

How to Cite
สรุภี ว., & พิมลสมพงศ์ ฉ. (2017). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีศึกษาเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 1–9. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/86960
Section
Research Manuscript