สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13

Main Article Content

ธิดาทิพย์ จันทร์มาศ
บรรจง เจริญสุข
สมคิด นาคขวัญ

Abstract

สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 ตามอายุ ประสบการณ์การทํางานและขนาด โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 จํานวน 260 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหาร โรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการ บริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารที่มีอายุ ประสบการณ์การทํางาน และ ขนาดโรงเรียนต่างกันมีทัศนะต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

 

Community Participation in Secondary School Administration under the Office of Secondary Educational Service Area 13

          The purposes of this research were to study and compare community participation in secondary school management under the Office of Secondary Educational Service Area 13. The sample of the research was 260 school administrators selected with a stratified random sampling method. The instrument used in collecting data was a questionnaire with 0.96 of its reliability. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation, t- test, and one-way ANOVA analysis of variance.   The research results revealed that in overall the communities participated in secondary school management in a high level. The aspects of the participation the communities involved were the general management, academic management, budget management and personnel management respectively. Comparing the school administrators with different ages, working experiences and school sizes, it was found that school administrators’ opinions were not significantly different at statistical level of .05. 

Article Details

How to Cite
จันทร์มาศ ธ., เจริญสุข บ., & นาคขวัญ ส. (2017). สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 89–96. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87237
Section
Research Manuscript