การจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง

Main Article Content

ดํารง โยธารักษ์

Abstract

การจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ฐานคิดในการจัดการน้ำของรัฐและกลุ่มชุมชน (2) กระบวนการ ขับเคลื่อนแนวทางการจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนังของรัฐและกลุ่มชุมชน และ (3) แนวทางการจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง ร่วมกันของรัฐและกลุ่มชุมชน กรอบแนวความคิดที่ผู้วิจัยใช้มาจากแนวคิดเรื่องฐานคิดในการจัดการน้ำทั้งของรัฐและชุมชน และแนวคิดเรื่องกระบวนการเคลอื่นไหวทางสังคม การเก็บข้อมูลใช้วิธีการเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ เจาะลึกจํานวน 48 คน การสนทนากลุ่มจํานวน 75 คน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนังและตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาชน และภาควิชา การในคณะทํางานศึกษาข้อมูลการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชุมชนต้องการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนังโดยฐานคิดแบบนิเวศวัฒนธรรมชุมชน ซึ่ง เป็นฐานคิดที่สวนทางกันกับฐานคิดแบบอรรถประโยชน์นิยมของกรมชลประทาน ความแตกต่างในฐานคิดจึงน่าจะเป็นสาเหตุ ของกระบวนการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำในลุ่มน้ำปากพนังดังที่ปรากฏอยู่ กลุ่มชุมชนเคลื่อนไหวผ่านกลยุทธ์ ต่าง ๆ โดยไม่ใช้วิธีการชุมนุมประท้วง แต่ใช้กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยชาวบ้านเป็น นักวิจัยเพื่อหาแนวทางในการจัดการน้ำ อย่างไรก็ตามผลจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มชุมชนทําให้รัฐปรับแนวทางการบริหาร จัดการน้ำของรัฐเช่นเดียวกัน เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มชุมชน แนวทางการจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนังร่วมกันของ รัฐและกลุ่มชุมชนพบว่า มีอยู่สามแนวทาง คือ (1) แนวทางการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน (2) แนวทางการบริหาร จัดการน้ำของกลุ่มรักษ์ลุ่มน้ำปากพนัง และ (3) แนวทางการบริหารจัดการน้ําของคณะทํางานศึกษาข้อมูลการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง แนวทางทั้งสามได้รับการพัฒนาไปสู่แนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนังร่วมกัน ที่การศึกษานี้ได้นําเสนอไว้ใน สองมิติ คือ มิติโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน และมิติความร่วมมือด้านข้อมูล 

 

Water Resource Management in the Pak Phanang River Basin 

          The purposes of this study were 1) to investigate the ideas of the public sector and community groups in managing water, 2) to study the public sector and community groups’ driven approach of water management in the Pak Phanang River Basin, and 3) to find out how the public sector and community groups jointly manage water in the Pak Phanang River Basin. The researcher’s conceptual framework has been based on the ideas of the public sector and community groups in managing water and the concept of social movements. The qualitative data collection encompassed a document analysis, an in-depth interview with 48 respondents, a focus group interview with 75 respondents, as well as a participant and non-participant observation method. The informants were stakeholders affected by water management in the Pak Phanang River Basin, public sector and people’s representatives, and academic representatives working on water management in the Pak Phanang River Basin.   The findings showed the community groups’ need for cultural ecology-based water management in the Pak Phanang River Basin which was contrary to the Royal Irrigation Department’s utilitarianism-based approach. These differences of thought have probably caused protest-free movements related to water management in the Pak Phanang River Basin as could be seen in social movements among community groups using mutual learning process through which villagers acted as researchers seeking approach for water management. However, these movements urged the public sector to adjust its water management approach so as to respond to the community groups’ requests. The joint water management approach consisted of 1) water management approach of the Royal Irrigation Department, 2) water management approach of the Pak Phanang River Basin conservation group, and 3) water management approach of those working on water management in the Pak Phanang River Basin. These three approaches have been developed in order to enable joint water management as presented in two dimensions in this study: joint water management structure and data cooperation.    

Article Details

How to Cite
โยธารักษ์ ด. (2017). การจัดการน้ำลุ่มน้ำปากพนัง. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 10(1), 185–191. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/87281
Section
Academic Manuscript