Information For Librarians

 

 

 

วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร

MUT Journal of Business Administration

 
 

กติกาและคำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ใน

วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร

 

วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร เป็นวารสารวิชาการของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งประสงค์เปิดรับบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารฯ โดยบทความต้องมีเนื้อหาทางด้านบริหารธุรกิจ ในลักษณะบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น โดยเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และต้องเป็นบทความที่มีคุณภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิด (นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือผู้สนใจสามารถนำไปเพิ่มพูนความรู้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หรือนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้) และ/หรือ เชิงการนำไปปฏิบัติ (ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจได้)

 

กติกาของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร

 

            วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานครได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) อย่างเคร่งครัด ดังนั้นจึงกำหนดกติกาและแนวทางในการบริหารจัดการ โดยแสดงดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1: กติกาของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร

ชื่อวารสาร (ภาษาไทย)

วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร

ชื่อวารสาร (ภาษาอังกฤษ)

MUT Journal of Business Administration

กำหนดการเผยแพร่

ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)

ขอบเขตของบทความที่จะรับตีพิมพ์ในวารสารฯ

จะต้องเกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจ เช่น

        การจัดการธุรกิจ

        การเป็นผู้ประกอบการ

        การจัดการอุตสาหกรรม

        การจัดการโลจิสติกส์

        การจัดการทรัพยากรมนุษย์

        การเงินและการธนาคาร

        การบัญชี

        นิเทศศาสตร์ธุรกิจ

        คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

        การตลาด

        ธุรกิจในยุคดิจิทัล

 

 

 

 

ตารางที่ 1: (ต่อ)

การพิจารณากลั่นกรองบทความของวารสารฯ

บทความทุกบทความก่อนลงตีพิมพ์ต้องได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากกองบรรณาธิการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. ถ้าเป็นบทความจากภายนอกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในมหาวิทยาลัยฯ 1 ท่าน และจากภายนอกมหาวิทยาลัยฯ         2 ท่าน รวมเป็น 3 ท่าน หรือส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกทั้ง 3 ท่าน

2. ถ้าเป็นบทความจากภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยฯ 3 ท่าน ซึ่งทั้ง 3 ท่านต้องไม่มีส่วนได้เสียกับผู้นิพนธ์/ผู้เขียน

หมายเหตุ ซึ่งการพิจารณาบทความนั้นเป็นลักษณะปกปิดข้อมูลทั้ง 2 ทาง  (Double Blind Evaluation) คือ ทั้งฝ่ายผู้แต่งและผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อกันทั้ง 2 ฝ่าย

อื่นๆ

บทความที่จะลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ

 

คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์

 

            เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เช่นกัน ดังนั้นจึงกำหนดคำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ ดังนี้

 

องค์ประกอบของบทความ

เพื่อให้องค์ประกอบของบทความมีความสอดคล้องกัน ดังนั้นผู้ประสงค์จะส่งบทความจะต้องมีองค์ประกอบตามกำหนด ซึ่งแสดงดังตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2: องค์ประกอบของบทความ

บทความวิชาการ

บทความวิจัย

1. ชื่อบทความ และชื่อผู้เขียนบทความ

1. ชื่อบทความ และชื่อผู้เขียนบทความ

2. บทคัดย่อ  (Abstract)  ภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ

2. บทคัดย่อ  (Abstract)  ภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ

3. บทนำ (Introduction)

3. บทนำ (Introduction)

4. ลำดับเนื้อหา (Content) ตามความเหมาะสม

4. คำถามนำวิจัย (Research Questions)

5. สรุป (Conclusion)

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives)

6. รายการอ้างอิง (References)

6. ประโยชน์ของการวิจัย (Research Contributions)

 

7. การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)

 

8. กรอบแนวความคิด (Conceptual Framework)

 

9. ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology)

 

10. ผลการวิจัย (Research Findings)

 

 

 

 

 

11. อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion)

12. ข้อเสนอแนะ (Recommendations)

13. รายการอ้างอิง (References)

หมายเหตุ: สามารถมีองค์ประกอบที่แตกต่างได้ตามความเหมาะสม

การเตรียมต้นฉบับเพื่อส่งตีพิมพ์

เพื่อให้รูปแบบของบทความมีความสอดคล้องกัน ดังนั้นผู้ประสงค์ส่งบทความต้องจัดรูปแบบดังนี้

 

  1. พิมพ์ด้วยกระดาษ เอ 4 พิมพ์หน้าเดียว จำนวนไม่เกิน 25 หน้า (นับรวมบทคัดย่อ รูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก)
  2. ผู้เขียนบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ เช่น ตัวสะกด วรรคตอน และความเหมาะสม รวมถึงความไพเราะของการใช้ภาษา
  3. ระบุประเภทของบทความให้ชัดเจนว่าเป็นบทความประเภทไหน
  4. การจัดรูปแบบ
  • ขอบกระดาษ ขอบซ้าย3 Cm ขอบขวา 1.9 Cm ขอบบน 2.9 Cm ขอบล่าง 1.9 Cm
  • จำนวนคอลัมน์ แบ่งเป็น 1 คอลัมน์
  • ระยะระหว่างบรรทัด หนึ่งเท่า (Single Space)
  • ตัวอักษร ตาราง รูป สูตร/สมการ ตามที่กำหนดดังนี้

 

ชื่อบทความ ต้องมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเป็นข้อความสั้นๆ และสามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงสาระสำคัญของเนื้อหาได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ชื่อบทความที่เป็นภาษาไทยให้ใช้ตัว อักษร JasmineUPC ขนาด 18 และใช้ตัวหนา ส่วนภาษาอังกฤษให้ใช้ Browallia New ขนาด 18 และใช้ตัวหนา รวมถึงให้จัดเรียงอยู่กลางหน้ากระดาษ

 

ชื่อผู้เขียนบทความ (ทุกคน) ให้ใส่ชื่อและชื่อสกุลเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ถ้าผู้เขียนมีตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งอื่นๆ ให้เขียนตำแหน่งฯ นั้นในบรรทัดต่อจากชื่อ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สถานที่ติดต่อ ส่วน E-mail ของ Corresponding Author ให้เขียนในลักษณะ Footnote ในหน้าแรกของบทความ ส่วนในกรณีมีผู้เขียนหลายคนให้เรียงตามสัดส่วนการเขียน

ชื่อผู้เขียนภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร JasmineUPC  ขนาด 15 ส่วนภาษาอังกฤษใช้ Browallia New ขนาด 15 และใช้ตัวธรรมดา รวมถึงให้จัดเรียงอยู่กลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อบท ความ

ตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับ สถานที่ติดต่อ ของ ผู้เขียนบทความ ให้ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 และใช้ตัวธรรมดา รวมถึงให้จัดเรียงอยู่กลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อผู้เขียน

E-mail ของ Corresponding Author ให้ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 และใช้ตัวธรรมดา รวมถึงให้จัดเรียงอยู่ชิดขอบด้านซ้าย ในลักษณะ Footnote

 

 

บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยมีจำนวนคำไม่เกิน 500  คำ และภาษาอังกฤษ มีจำนวนคำไม่เกิน 500 คำ ทั้งนี้คำว่า “บทคัดย่อ” ที่เป็นภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร JasmineUPC ขนาด 14 ส่วนภาษาอังกฤษให้ใช้ Browallia New ขนาด 14 ทั้งนี้ต้องเป็นตัวหนา และจัดเรียงอยู่ชิดขอบ กระดาษด้านซ้าย

เนื้อหาของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 14 ทั้งนี้ทั้งประโยคต้องเป็นตัวธรรมดา

 

คำสำคัญ (Key Word) ให้พิมพ์ในบรรทัดถัดจากบทคัดย่อ ทั้งนี้ควรเลือกคำสำคัญโดยประมาณ 3-5 คำ ทั้งนี้คำว่า “คำสำคัญ” ที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ Browallia New ขนาด 14 ทั้งนี้ต้องเป็นตัวหนา และจัดเรียงอยู่ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย

คำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 14 ทั้ง นี้ ต้องเป็นตัวธรรมดา

 

เนื้อหาบทความ

หัวข้อหลักที่เป็นภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร JasmineUPC ขนาด 18 ส่วนภาษาอังกฤษให้ใช้ Browallia New ขนาด 18 ทั้งนี้ต้องเป็นตัวหนา และจัดเรียงอยู่ชิดขอบกระดาษด้าน ซ้าย

หัวข้อย่อยที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ Browallia New ขนาด 14 ทั้งนี้ต้องเป็นตัวหนา และจัดเรียงอยู่ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย

เนื้อหาที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ Browallia New ขนาด 14 ทั้งนี้ต้องเป็นตัวธรรมดาหรือบางส่วนเป็นตัวหนาได้ตามความเหมาะสม

 

คำศัพท์ ให้เป็นไปตามราชบัณฑิตยสถาน

 

ตาราง ตารางทุกตารางจะต้องมีหมายเลขและคำบรรยายกำกับตารางไว้เหนือตาราง โดยให้เรียงลำดับตามที่ปรากฏ ทั้งนี้ตารางทุกตารางที่ปรากฏในบทความจะต้องมีการอ้างอิงในเนื้อหา นอกจากนี้รายละเอียดอื่นให้เป็นไปตามตัวอย่าง

 

ตารางที่/Table 1: ชื่อตาราง (ใช้ตัวอักษร Browallia New 12)

หัวข้อ ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวหนา

หัวข้อ ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวหนา

หรือตามความเหมาะสม

ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวธรรมดา

ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวธรรมดา

ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวธรรมดา

ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวธรรมดา

ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12 ตัวธรรมดา

หรือตามความเหมาะสม

               

               ที่มา/Source: แหล่งที่มาของข้อมูล (ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 12)

 

รูปภาพ รูปลายเส้นจะต้องใช้เส้นหมึกสีดำ วาดด้วยโปรแกรม เช่น Visio, Adobe Illustrator, Macromedia Freehand หรือโปรแกรมวาดรูปอื่นๆ ส่วนรูปถ่ายควรเป็นรูปขาวดำที่มีความคมชัด

                        รูปทุกรูปจะต้องมีหมายเลขและคำบรรยายภาพกำกับใต้รูป โดยให้เรียงลำดับตามที่ปรากฏ ทั้งนี้รูปทุกรูปที่ปรากฏในบทความจะต้องมีการอ้างอิงในเนื้อหา นอกจากนี้รายละเอียดอื่นให้เป็นไปตามตัวอย่าง

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                       รูปที่/Figure 1: ชื่อรูป (ใช้ตัวอักษร Browallia New 12)

                      ที่มา/Source: แหล่งที่มาของข้อมูล (ใช้ตัวอักษร Browallia New 12)

 

สูตร/สมการ สูตร/สมการทุกสูตร/สมการจะต้องมีลำดับหมายเลขกำกับโดยเขียนอยู่ในวงเล็บวางไว้ชิดขอบขวา นอกจากนี้รายละเอียดอื่นให้เป็นไปตามตัวอย่าง

                                                                                    (1)

โดยที่  คือค่าความหนืด  คือความดัน  คือค่าคงที่โบลทซ์มาน  คืออุณหภูมิ และ  คือมวลของแกส

ตัวอักษรในสูตร/สมการให้ใช้ Times New Roman ขนาด 10 ตัวสัญลักษณ์ให้ใช้ Symbol ขนาด 10 ให้ใช้ MathType หรือ Equation Editor ในการเขียนสูตร/สมการ

 

  • การอ้างอิง เอกสารอ้างอิงทุกฉบับต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ และผู้เขียนบทความจะต้องเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นโดยจัดให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้การเขียนอ้างอิงต้องเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยวิธีการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาแสดงดังตารางที่ 3 และวิธีการเขียนอ้างอิงในรายการอ้างอิงแสดงดังตารางที่ 4

 

 

 

 

            ตารางที่ 3: วิธีการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา

การอ้างอิงในเนื้อหา เช่น

1. กรณีผู้เขียน 1 คน (ภาษาไทย)

รูปแบบ : ชื่อและชื่อสกุลผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า

ตัวอย่าง : ...................แม้ว่าจะมีการแบ่งองค์ความรู้ระหว่างทฤษฎีองค์การและพฤติกรรมองค์การไว้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเส้นแบ่งระหว่างองค์ความรู้ทั้งสองเริ่มไม่ชัดเจน (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, 2550: 8) ทำให้ในปัจจุบันทั้งทฤษฎีองค์การและพฤติกรรมองค์การจึงศึกษาควบคู่กันไปเสมอ...........

หรือ (ซึ่งแล้วแต่โครงสร้างประโยค)

1. กรณีผู้เขียน 1 คน (ภาษาอังกฤษ)

รูปแบบ : ชื่อสกุลผู้แต่ง/(ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง : ……….........จากทั้งคำว่าทฤษฎีและองค์การ ก็จะมาสู่คำว่าทฤษฎีองค์การซึ่งก็เป็นการนำเอาคำนิยาม แนวความคิด หลักการของทั้งทฤษฎีและองค์การมาบูรณาการกัน โดย Jones (2007: 7) ได้ให้คำนิยามของทฤษฎีองค์การ ไว้ว่า “การศึกษาหน้าที่ขององค์การและผล กระทบจากสภาพแวดล้อมต่อการดำเนินงานขององค์การ”...........

2. กรณีผู้เขียน 2 คน (ภาษาไทย)

รูปแบบ: ชื่อและชื่อสกุลผู้แต่ง และ ชื่อและชื่อสกุลผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า

ตัวอย่าง : ..............................การจัดการ (Management) คือ (1) การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดย (2) การบูรณาการการทำงานของคน ผ่าน (3) การวางแผน การจัดองค์การ การชักนำ และการควบคุม ทรัพยากรขององค์การ (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ และ ชิตวันพัทธ์ วีระสัย, 2008: 4)...........

2. กรณีผู้เขียน 2 คน (ภาษาอังกฤษ)

รูปแบบ: ชื่อสกุลผู้แต่ง และ ชื่อสกุลผู้แต่ง/(ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง : …………...........Robbins and Coulter (2007: 48) ได้เปรียบเทียบองค์การแบบดังเดิม (Traditional Organization) กับองค์การร่วมสมัย/สมัยใหม่ (Contemporary Organization) ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้..........

3. กรณีผู้เขียน 3 คนขึ้นไป (ภาษาไทย)

รูปแบบ: ชื่อและชื่อสกุลผู้แต่ง และ คณะ,/ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า

ตัวอย่าง : ............ในระยะเติบโตกิจการควรใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นพนักงานด้านนวัตกรรม (ชิตวันพัทณ์ วีระสัย และ คณะ, 2561: 179)...........

3. กรณีผู้เขียน 3 คนขึ้นไป (ภาษาอังกฤษ)

รูปแบบ: ชื่อสกุลผู้แต่ง และ คณะ/(ปีที่พิมพ์:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง : ...........ส่วน Schermerhorn et al. (2005: 3) ได้ให้คำนิยามของพฤติกรรมองค์-การ ไว้ว่า “การศึกษาพฤติกรรมของบุคคล และกลุ่มในองค์การ”...........

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            ตารางที่ 4: วิธีการเขียนอ้างอิงในรายการอ้างอิง

การอ้างอิงในรายการอ้างอิง เช่น

1. อ้างอิงจากหนังสือ

รูปแบบ : ชื่อ ชื่อสกุล.//ปี พ.ศ.ที่พิมพ์//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.(ถ้ามี)//เมืองที่พิมพ์://สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง : (กรณีผู้แต่งคนเดียว)

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. 2550. ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รัตนไตร.

Jones, Gareth R. 2007. Organizational Theory, Design, and Change. 5 thed. New Jersey: Pearson Education International.

ตัวอย่าง : (กรณีผู้แต่งสองคนขึ้นไป)

Jones, Gareth R. and George, Jennifer M. 2008. Contemporary Management. 5 thed. New York: McGraw-Hill.

Schermerhorn, John R.; Hunt, James G. and Osborn, Richard 2005. Organizational Behavior. 9 thed. New York: John Wiley & Sons, Inc.

 

2. อ้างอิงจากวารสาร

รูปแบบ : ชื่อ ชื่อสกุล.//ปีที่.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ฉบับที่.//เลขหน้า-เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

ชิตวันพัทณ์ วีระสัย. 2555. การหลีกเลี่ยงการใช้กลยุทธ์การแข่งขันแบบครึ่งๆ กลางๆ: ข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้ง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. ปีที่ 9. ฉบับที่ 1. 111-126.

Kuhnert, Karl W. and Lewis, Philip. 1987. Transactional and Transformational Leadership: A Con- structive/Developmental Analysis. Academy of Management Review. Vol. 12. No. 4. 648 -657.

 

3. อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

รูปแบบ : ชื่อ ชื่อสกุล.//ปี พ.ศ. ที่พิมพ์//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ชื่อปริญญา (เต็ม).//สถาบัน.

ตัวอย่าง :

ชิตวันพัทณ์ วีระสัย. 2561. อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อผลการดำเนินงานด้านบริการผ่านนวัตกรรมการจัดการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Laohavichien, Tipparat. 2004. Leadership and Quality Management: A Comparison Between The U.S. and Thailand. Doctor of Philosophy Thesis (Industrial Management). Clemson University.

 

4. อ้างอิงจากการสืบค้นจาก Website

รูปแบบ : ชื่อ ชื่อสกุล.//ปี พ.ศ.//ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ.//วัน เดือน ปี ที่ค้นข้อมูล//ที่อยู่ของข้อมูล/(URL).

ตัวอย่าง :

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. 2553. อันดับการบริโภคแอลกอฮอล์ ปี 1998 – 2000. สืบค้นวันที่ 2 สิงหาคม 2553 จาก http://www.cas.or.th/index.php?option=com_rank&location=2

Wikipedia. 2009. Corporate Social Responsibility. Retrieved May 28, 2009 from http://en.wiki

pedia.org/wiki/Corporate_Social_Responsibility

 

5. การแปลเอกสารอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ให้ขึ้นหัวข้อใหม่ว่า เอกสารอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ  (Translated Thai References) ทั้งนี้ให้นำชื่อสกุลขึ้นก่อนชื่อเต็ม ต่อจากนั้นจึงเรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งวงเล็บ (In Thai)

รูปแบบ : ชื่อ ชื่อสกุล.//ปีที่.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ฉบับที่.//เลขหน้า-เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

ชิตวันพัทณ์ วีระสัย และ ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. 2560. อิทธิพลของภาวะผู้นำต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของแพทย์และทันตแพทย์ ในบริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. ปีที่ 57 ฉบับที่ 3. 188-211.

 

เอกสารอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ  (Translated Thai References)

รูปแบบ ชื่อสกุล และ ชื่อเต็ม//ปีที่.//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร.//ฉบับที่.//เลขหน้า-เลขหน้า.

Weerasai, Chitawanphat and Laohavichien, Tipparat. 2017. The Influences of Leadership on Job Satisfaction and Organizational Commitment of Medical Doctors and Dentists in ASEAN Economic Community Context. NIDA Development Journal. Vol. 57. No. 3. 188-211. (In Thai)

 

หมายเหตุ: ทั้งนี้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่บรรณาธิการวารสาร

 

การส่งบทความและการติดต่อกองบรรณาธิการวารสารฯ

ผู้ประสงค์ส่งบทความกรุณาปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด และจัดส่งบทความเป็นไฟล์ชนิด Microsoft Word ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด จากนั้น จึงส่งอีเมล์ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชื่นสุมล บุนนาค (บรรณาธิการวารสาร) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณะบริหารธุรกิจ        E-Mail : [email protected] และ [email protected]  และส่งเข้าระบบ Thaijo โทรศัพท์ : 0-2988-3655 ต่อ 2119 และ 2120 โทรสาร : 0-2988-3655 ต่อ 2122 โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 084-1004884 รวมถึง สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดของวารสารได้โดยผ่าน Website : www.mbs.mut.ac.th/journal และ สามารถ Login ได้ที่ระบบวารสารออนไลน์ MUT Journal of Business Administration -Thaijo

 

คำกติกาและการอ้างอิงปรับปรุงใหม่นี้ จะถูกใช้ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร

ในปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มค.-มิย.) 2564 นี้ เป็นต้นไป