ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหญิงจังหวัดลำพูน

Authors

  • ลลิตา พนาคร นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุธรรม นันทมงคลชัย ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภชัย ปิติกุลตัง ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุหญิง, แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย, การสูบบุหรี่, การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม, dementia, elderly women, MMSE thai 2002, smoking, social participation

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหญิงจังหวัดลำพูน จำนวน 248 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ในช่วงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุหญิงที่ได้รับการคัดกรองว่า เป็นภาวะสมองเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 23.4 ในขณะที่ร้อยละ  76.6 ได้รับการคัดกรองว่าไม่เป็นภาวะสมองเสื่อม ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ การสูบบุหรี่ การเป็นโรคเบาหวาน การประกอบอาชีพในปัจจุบัน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมระดับน้อย และอายุ โดยผู้สูงอายุหญิงที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมมากที่สุดคิดเป็น 7.7 เท่าของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ รองลงมาคือ ผู้สูงอายุหญิงที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อมคิดเป็น 2.5 เท่าของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ประกอบอาชีพในปัจจุบันจะมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อมคิดเป็น 2.3 เท่าของผู้สูงอายุหญิงที่ประกอบอาชีพในปัจจุบัน ผู้สูงอายุหญิงที่ข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมระดับน้อยจะมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อม คิดเป็น 2.2 เท่าของผู้สูงอายุหญิงที่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมระดับมาก และในกลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อมสูงกว่า  2.2 เท่าของผู้สูงอายุหญิงที่มีอายุน้อยกว่า ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุหญิง เน้นการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมและป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุหญิงมีสุขภาพที่ดีและสามารถปฏิบัติงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

Factors Influencing Dementia in Elderly Women in Lumphun Province

ABSTRACT


This cross sectional survey research aimed to determine the situation and factors influencing dementia in elderly woman in Lumphun province. The samples were 248 elderly women selected by Stratified random sampling technique. Data were collected by interviewing during 16th February to 16th March, 2015 and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple logistic regressions. The results showed that 23.4 % of the elderly women had dementia and 76.6% did not. Smoking behavior, presence of diabetes, current occupation, social participation, and aged were associated with dementia with statistically significance (p < 0.05). A cigarette smoking elderly woman was at 7.7 times higher risk of dementia than non-smokers. Follow by 2.5 times higher risk was elderly women with diabetes than those without diabetes. An employed was at risk of 2.3 times more of dementia than those who are still working. Over 2.2 times of low social participation had risk of dementia with statistical significance. Moreover, people aged 70 years and over had 2.2 times higher risk of dementia when compared with aged below 70 years. The results of this study can be applied in defining the guidelines for the care of the elderly woman. Focus should be on activities that promote and prevent dementia. They should be a non smoking campaign and encouragement of the participation activities that   lead to healthy elders able to live happily in the daily life. 

Downloads

Issue

Section

Original Articles