ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในจังหวัดนครปฐม

Authors

  • พัชรา พันธุ์มี ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุธรรม นันทมงคลชัย ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภชัย ปิติกุลตัง ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คุณภาพชีวิต, การรับรู้สิทธิประโยชน์, ผู้พิการ, จังหวัดนครปฐม, quality of life, perceived rights and benefits, disabled people, Nakhon Pathom Province

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสํารวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในจังหวัดนครปฐม โดยประชากรที่ศึกษาเป็นผู้พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 9,039 คน และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 264 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้พิการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ผู้พิการในจังหวัดนครปฐม มีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.2 ระดับไม่ดี ร้อยละ 45.8 ปัจจัยที่มีอิทธิพลและคาดทำนายคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ การรับรู้สิทธิประโยชน์และรายได้ โดยสามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้พิการได้ร้อยละ 27.6 ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการดูแลผู้พิการในจังหวัดนครปฐม ควรส่งเสริมให้ผู้พิการมีความรู้ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้พิการที่หน่วยงานของรัฐจัดสรรให้ และสนับสนุนให้ผู้พิการมีรายได้ที่เพียงพอ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดียิ่งขึ้น

Factors Influencing Quality of Life among Disabled People in Nakhon Pathom Province

 ABSTRACT

 

 This cross-sectional survey aimed to study the level of quality of life among disabled people in Nakhon Pathom Province as well as the predictive factors for their quality of life. The study population totaled 9,039  physically disabled and mobility people over 18 years old. The selected sample size totaled 264 disabled people chosen by stratified random sampling. The data were collected through a survey and quality of life questionnaire from 1July - 1August 2015. Data was analyzed by Chi-square test, Pearson’s correlation coefficient and Stepwise-Multiple Regression analysis. The results showed that 54.2% of the disabled people had high levels of quality of life followed by 45.8% at poor level. The factors predicting quality of life with a level of statistical significance (p<0.05) were awareness of privilege and income. These two factors could predict the quality of life as correctly as 27.6%. Therefore, the recommendations from this study should be to promote the awareness of government privilege for disabled people and enhance their income. These recommendations would lead to improved quality of life among disabled people.


Downloads

Published

2016-07-01

Issue

Section

Original Articles