การส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART : กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • เอื้อมเดือน แก้วสว่าง Institute for Population and Social Research, Mahidol University
  • ภคพร พุทธโกษา Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Abstract

Enhancing Academic Publication Inspired by KAFE4ART Activity participation: A Case Study of Institute for Population and Social Research (IPSR), Mahidol University

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะการรับรู้และการมีเข้าร่วมกิจกรรม KAFE 4 ART ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ และมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของบุคลากรสายวิชาการและกิจกรรมการส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านกิจกรรม KAFE 4 ART ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เน้นศึกษาเฉพาะบุคลากรสายอาจารย์ นักวิจัย และนักวิจัยโครงการของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและดาเนินการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) จากตัวอย่าง 58 คน ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ และมีการรับรู้หรือได้ยินเกี่ยวกับกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นอย่างมาก รวมทั้งมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 1-4 ครั้ง และมีความพึงพอใจกับกิจกรรมนี้ระดับมาก นอกจากนี้ พบว่า สถานะการทางานมีความสัมพันธ์ต่อการเขียนผลงานทางวิชาการอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ โดยกิจกรรม KAFE 4 ART เป็นกิจกรรมเสริมแรงทางบวก ที่มุ่งเน้นสนับสนุนกระบวนการผลิตผลงานวิชาการ ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความรู้ระหว่างนักวิชาการร่วมกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ ทาให้ทราบถึงรูปแบบความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในเรื่องระยะเวลาในการดาเนินงานของกิจกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางท่านได้สะท้อนในเรื่องการบริหารจัดการเวลาที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากมีภาระงานที่หนักอยู่ และระยะเวลาในการดาเนินกิจกรรม KAFE 4 ART ยังน้อยเกินกว่าที่จะสะท้อนภาพความสาเร็จของกิจกรรมได้ เนื่องจากการเขียนผลงานทางวิชาการต้องใช้ระยะเวลา ในการกลั่นกรองการเขียนและวิเคราะห์ รวมทั้งรอการตอบรับผลงานตีพิมพ์จากวารสารวิชาการอีกด้วย

Downloads

Published

2017-08-04