ทักษะชีวิต ทุนทางสังคม การดำเนินชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสุขของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

Main Article Content

Ramonpawee In-Kham รมนปวีร์ อิ่นคำ
Theerapat Wongkumsin ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน

Abstract

บทคัดย่อ 

 

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะชีวิต ระดับทุนทางสังคม ระดับการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และระดับความสุขของประชาชน 2) ศึกษาเปรียบเทียบความสุขของประชาชนตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะชีวิตกับความสุขของประชาชน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความสุขของประชาชน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขของประชาชนและ 6) ศึกษาทักษะชีวิต ทุนทางสังคม และการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ร่วมกันพยากรณ์ความสุขของประชาชน

         กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนของหลังคาเรือนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 1,084 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน       t–test, F–test, (Least Significance Difference) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Regression Analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะชีวิต ทุนทางสังคม การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสุขของประชาชนอยู่ในระดับสูง 2) ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว รายได้ต่อเดือน ความสมดุลของรายได้ ภาวะสุขภาพ สถานภาพการเป็นสมาชิกของชมรมในชุมชนและการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันมีความสุขไม่แตกต่างกัน      3) ทักษะชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ทุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 6) ทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้ในตนเองและด้านการมีปฏิสัมพันธ์  ทุนทางสังคมด้านสถาบัน ด้านวัฒนธรรมและด้านองค์ความรู้ การดำเนินชีวิตตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผลและด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสุขของประชาชนได้ร้อยละ 12.6  (R2= 0.126)

 

คำสำคัญ:  ทักษะชีวิต; ทุนทางสังคม;  การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง;  ความสุข

 

 

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the level of life skills, social capitals, living based on sufficiency economy philosophy and happiness of  people, 2) to compare happiness of people by personal factors, 3) to study the relationship between  life skills and happiness of people, 4) to study the relationship between social capitals and happiness of people, 5) to study the relationship between living based on sufficiency economy philosophy and happiness of people and 6) to study life skills, social capitals, living based on sufficiency economy philosophy that predict on happiness of people.

The samples used in this research were 1,084 people which that represent of the households in Mueang district, Loei province. The data were collected by questionnaires and analyzed by a statistical package program. The statistical methods used for analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, Least Significant Difference, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and stepwise regression analysis. The statistical significance was set at 0.05 and 0.01 level of confidence.

            The result of this research indicated that 1) life skills, social capitals, living based on sufficiency economy philosophy and happiness of people were at the high level, 2) the people who had difference personal factors such as gender, age, marriage status, level of education, career, the members in family, the income per month, the balance of income, health status, membership in community group and participation in activity about sufficiency economy have not difference in happiness, 3) life skills have positive correlation to happiness of people with statistical significance at 0.01 level,  4) social capitals have positive correlation to happiness of people with statistical significance at 0.01 level,        5) living based on sufficiency economy philosophy have positive correlation to happiness of people with statistical significance at 0.01 level, and 6) life skills (self-awareness skill and interactive skill), social capitals (institution, cultural and  knowledge) and living based on sufficiency economy philosophy (moderation, reasonableness and self-immunity) that could predict to happiness of people and could explain at 12.6 percent (R2= 0.126).

 

Keywords:  Life Skills;  Social Capitals;  Living Based on Sufficiency  Economy Philosophy; Happiness

Article Details

How to Cite
รมนปวีร์ อิ่นคำ R. I.-K., & ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน T. W. (2014). ทักษะชีวิต ทุนทางสังคม การดำเนินชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสุขของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. Journal of Social Development and Management Strategy, 15(1). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25720
Section
บทความวิจัย Research Article