การพัฒนาดัชนีสังคมของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Main Article Content

Sagol Jariyavidyanont สากล จริยวิทยานนท์

Abstract

Abstract

 

            The Ministry of Social Development and Human Security (MSDHS) had developed social indices using social index development concepts and selecting existing various indicators concerning Thai society. Those indices and indicators, then, were re-arranged the priority to be in accord with Thai society and cultural situations. The main purpose of the development was to obtain the standardized indicators for social development.

            Ten steps of social index construction were: 1) reviewing related concepts and theories, 2) reviewing present Thai social situations, 3) synthesizing concepts from steps 1 and 2, and constructing suitable conceptual framework and social indices, 4) examining step 3 by social experts, 5) brain-storming of relevant personnel from 8 provinces ( 2 from each region) the outcome of step 4, 6) selecting suitable social indices from step 5 and collecting data from local people, 7) analyzing and synthesizing from step 6 for construction of social index framework, 8) proposing the framework from step 7 to academicians for hearing and suggestions, 9) improving and modifying social indices from step 8, and 10) constructing standardized social index framework.

            Findings from 10 steps above indicated that there were 8 components and 60 indices suitable for Thai society. Eight components included health (9 indices), household and family (10 indices), knowledges and skills (5 indices), employment and income (8 indices), civil society (10 indices), culture (3 indices), morality (7 indices), and media and information (8 indices).

 

Key words:    Social Index, Social Development, Social Index Development, Social  Indicators, Standardized Social Indicators.

 

บทคัดย่อ 

 

          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้พัฒนาดัชนีสังคม โดยพิจารณาจากแนวคิดในภารพัฒนาดัชนีสังคม และเลือกตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสังคมที่มีอยู่ แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยเพื่อ ให้ตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมต่อไป

          กระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำดัชนีสังคม ประกอบด้วย 10 ขั้นตอนได้แก่ 1) การทบทวนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2) การทบทวนสภาวะสังคมไทยในปัจจุบัน 3) การสังเคราะห์แนวคิดจาก 2 ขั้นตอนแรกและสร้างกรอบแนวคิดและดัชนีชี้วัดด้านสังคมที่เหมาะสม 4) นำกรอบแนวคิดและดัชนีชี้วัดสังคมในขั้นที่ 3 ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา 5) นำผลจากการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิในขั้นที่ 4 ไปเสนอในการระดมความคิดต่อจากผู้ที่เกี่ยวข้องใน 4 ภาค  ๆ ละ 2 จังหวัด 6) นำผลจากการระดมความคิดเห็นในขั้นที่ 5 และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชน มาทำการคัดเลือกดัชนีสังคมที่เหมาะสม 7) นำผลจากขั้นที่ 6 มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อจัดทำกรอบมาตรฐานดัชนีสังคม 8) เสนอกรอบมาตรฐานดัชนีสังคมเพื่อรับการฟังความคิดเห็นทางวิชาการและข้อเสนอ แนะจากนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง 9) ปรับปรุงแก้ไขดัชนีสังคมจากการรับฟังความคิดเห็นในขั้นที่ 8 และ 10) สร้างกรอบมาตรฐานดัชนีสังคม

          จากกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำดัชนีสังคมทั้ง 10 ขั้นตอนดังกล่าว พบว่า องค์ประกอบที่เหมาะสมกับสังคมไทยในปัจจุบันประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ และ 60 ดัชนี คือ สุขภาพอนามัย(9 ดัชนี) ครัวเรือนและครอบครัว(10 ดัชนี) ความรู้และทักษะ(5 ดัชนี) การทำงานและรายได้(8 ดัชนี) ประชาสังคม(10 ดัชนี) วัฒนธรรม(3 ดัชนี) จริยธรรม(7 ดัชนี) และสื่อและข้อมูลข่าวสาร(8 ดัชนี)

 

คำสำคัญ : การพัฒนาสังคม การพัฒนาดัชนีสังคม ดัชนีสังคม ตัวชี้วัดสังคม มาตรฐานตัวชี้วัดสังคม

Article Details

How to Cite
สากล จริยวิทยานนท์ S. J. (2015). การพัฒนาดัชนีสังคมของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. Journal of Social Development and Management Strategy, 14(2). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25755
Section
บทความวิจัย Research Article