การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน เพื่อการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล ที่เอื้อต่อสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

ภีรวัฒน์ นนทะโชติ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบ ด้วยเทคนิควิธีวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกเป็นการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลใน 3 จังหวัดของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง และอุตรดิตถ์ จำนวน 804 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุและการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรม AMOS ระยะที่สอง เป็นการพัฒนารูปแบบ ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยวิธีการสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และระยะที่สามเป็นการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล ได้แก่ การบริหารจัดการ และทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนภาวะผู้นำ การติดต่อสื่อสาร และปัจจัยด้านสังคม มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการบริหารจัดการ และโครงสร้างองค์การ มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน สำหรับผลการพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบภายใต้แนวคิด “3 สร้าง 4 พัฒนา”

Article Details

How to Cite
นนทะโชติ ภ. (2021). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน เพื่อการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล ที่เอื้อต่อสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. Journal of Social Development and Management Strategy, 19(1), 99–125. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/89835
Section
บทความวิจัย Research Article