การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด

ผู้แต่ง

  • พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์

คำสำคัญ:

การกระทำผิดซ้ำ, การเห็นคุณค่าในตัวเอง, การคบหาสมาคม, สุขภาพจิต, ความสัมพันธ์ในครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด เพื่อเปรียบเทียบกันระหว่างปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอก และเพื่อเสนอเแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed method) โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้กระทำผิดรวมกัน 6 คน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้กระทำผิดจำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง เช่น ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test, chi-square, logistic regression เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยเรียงลำดับไปทีละด้านแล้ว พบว่ามีปัจจัยเพียง 2 ด้านจากทั้งหมด 7 ด้าน คือด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและด้านสภาพทางเศรษฐกิจสังคมเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด สำหรับปัจจัยภายในที่นำเอาปัจจัยมารวมกลุ่มกันประกอบด้วย การเห็นคุณค่าในตัวเอง การคบเพื่อน สุขภาพจิต และความสัมพันธ์ในครอบครัวแล้ว พบว่าปัจจัยภายในดังกล่าวนี้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำ ในทางตรงกันข้ามปัจจัยภายนอกที่ประกอบด้วย สภาพทางเศรษฐกิจสังคม นโยบายยาเสพติด และการปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมพบว่าปัจจัยภายนอกดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำ แต่ถึงกระนั้นถ้าหากพิจารณาโดยรวมปัจจัยทั้ง 7 ด้านเข้าด้วยกันแล้ว จะพบว่าปัจจัยโดยรวมทั้งหมดไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำ

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ (2561).ภาพรวมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย. สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย สืบค้นจาก http://tijrold.org/upload/fileagenda/89/RoLD%2029%20Mar

นัทธี จิตสว่าง (2518). มาตรการทางเลือกในการปฏิบัติต่อผู้กำระทำผิดเพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นคุก.
สืบค้นจาก http://www.nathee-chitsawang.com

นัทธี จิตสว่าง และสุมนทิพย์ ใจเหล็ก.(2554). รายงานการวิจัยเรื่องเส้นทางชีวิตของผู้ต้อง

ขังในคดียาเสพติด. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด.

ชัยฤทธิ์ ศรีวารีรัตน์.(2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขยาเสพติด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ .รายงานการค้นคว้าอิสระ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

พิริยา เชียรวิชัย.(2558). การศึกษาปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคมและการคบหาสมาคมที่แตกต่างที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2558.

จำเนียร ชุณหโสภาคและคณะ.(2551).รายงานการวิจัย.การศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงศกร อินธิไชย.(2552).การกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดในเรือนจำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดเรือนจำกลางบางขวาง.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์.(2560).ทฤษฎีสาเหตุการกระทำผิด.เอกสารคำสอนวิชาอาชญาวิทยาขั้นสูง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มานพ คณะโต และคณะ.(2553).โครงการศึกษาและวิจัยนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติด. เครือข่าย พัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2553

ประวุฒิ ถาวรศิริ.(2532). การวิเคราะห์สาเหตุการกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Belenko & Peugh0. (1998). Behind bars: Substance abuse and America’s prison population. New York: Center on addiction & Substance Abuse at Columbia University.

Belenko. (1998). Research on drug courts: A critical review. National Drug Court
Institute Review, 1, 1-42.

Gray .(2012). Why our drug laws have failed and what we can do about it. Temple university press, Philadelphia, USA.

Hanlon et al. (1998). The response of drug abuser parolees to a combination of treatment and intensive supervision.Prison Journal, 78, 31-44; Martin et al. (1999). Three-year outcomes of therapeutic community treatment for drug involved offenders in Delaware.

Prison Journal, 79, 294-320; Nurco et al. (1991). Recent research on the relationship between illicit drug use and crime. Behavioral Sciences & the Law, 9, 221-249.

Julie L. Jones, Factors Affecting Recidivism Rates. Recidivism Report May 2001 Florida Department of Corrections.
Marlowe et al. (2003). A sober assessment of drug courts. Federal Sentencing Reporter, 16, 153-157.

Melanie Norwood, Criminogenic Needs: Definition & Risk Factors. retrieved
fromhttps://study.com/academy/lesson/criminogenic-needs-definition-risk-factors.html.

Langan & Levin (2002). Recidivism of prisoners released in 1994. Washington,
DC: Bureau of Justice Statistics, U.S. Department of Justice.

Spohn & Holleran (2002). The effect of imprisonment on recidivism rates
of felony offenders: A focus on drug offenders. Criminology, 40, 329-357.

National Institute of Justice. (1999). Annual report on drug use among adult
and juvenile arrestees. Washington DC: U.S. Dept. of Justice.

National Association of Drug Court Professionals, The Facts on Drugs and
Crime in America retrieved from https://www.Nadcp.org/sites/default/files/nadcp/Facts%20on%20Drug%20 Courts% 20.pdf.

Paul Gendreau Tracy Little Claire Goggin, A meta-analysis of the predictors
of adult offender Recidivism: what works. University of New Brunswick, CRIMINOLOGY volume 34 number 4 1996 Retrieved from https://study.com/academy/lesson/criminogenic-needs-definition-risk-factors.html.

Karberg & James (2005). Substance dependence, abuse, and treatment of
jail inmates, 2002. Washington, DC: Bureau of Justice Statistics, U.S. Dept. of Justice; Fazel et al. (2006). Substance abuse and dependence in prisoners: A systematic review. Addiction, 101, 181-191.

Thongchai Cholsiripong. (2017). เกาหลีใต้เป็นแชมป์ดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดในเอเชีย
เฉลี่ย 10.9 ลิตรต่อปี ส่วนพี่ไทยครองที่ 3 Retrieved from https://brandinside.asia/south-korea-most-drink-alcohol/

University of California, Los Angeles. (2005). Evaluation of the Substance Abuse and
Crime Prevention Act, 2005 Report. Los Angeles: UCLA Integrated Substance Abuse Programs; Marlowe (2002).

Effective strategies for intervening with drug abusing
offenders. Villanova Law Review, 47, 989-1025.

Wikipedia, (2018). List of countries by incarceration rate. Retrieved from https://en.wikipedia. org/wiki/List of countries by incarceration rate)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30