ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

ผู้แต่ง

  • คัมภีรภาพ คงสำรวย

คำสำคัญ:

การพูดภาษาอังกฤษ, ความวิตกกังวล, ปัจจัยที่ส่งผลต่อ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน ผู้วิจัยทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากนักศึกษาภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งสิ้น 56 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ การทดสอบค่าที T-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน One-Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า1. เพศชายและเพศหญิงมีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ความรู้สึกไม่มั่นใจตนเองเมื่อต้องพูดภาษาอังกฤษและความรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องพูดภาษาอังกฤษต่อหน้าเพื่อนๆ ที่เพศชายวิตกกังวลมากกว่า โดยภาพรวมแล้วความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษระหว่างเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน โดยมีค่า (t = 4.00) และ (P-Value = 0.092) 2. ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามอายุ พบว่า มีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษจำแนกตามอายุแตกต่างกัน โดยมีค่า (F = 6.529) และ (P-Value<= 0.05) 3. ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามชั้นปี พบว่า มีความวิตก กังวลในการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างกัน โดยมีค่า (F = 6.268) และ (P-Value <= 0.05)  4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความกังวลสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 12 ท่านกังวลว่าท่านจะพูดผิดไวยากรณ์ ที่ 3.68 รองลงมา คือ ข้อที่ 8 ท่านกลัวการหัวเราะเยาะจากเพื่อนๆในชั้นเรียน เมื่อท่านพูดผิด ที่ 3.64

References

เจนจิรา ชัยปานและคณะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลสาขาภาษาต่างประเทศชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556. ภาคนิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล สาขาภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ยุพเยาว์ เมืองหมุดและคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาแรกเข้าระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่องมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี.

ศศิภา ไชยวงศ์. (2553). การใช้การสอนชักชวนร่วมกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเพิ่มพูนการฟังพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและลดความวิตกกังวลของนักเรียนชมรมมัคคุเทศก์น้อย.
ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


Bloom, B.S.(1976). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw – Hill Book.

Jakobovits, Loen A.(1971). Foreign Language Learning : A Psycholinguistic Analysis of the Issues. Rovley Mass Newbury House Publishers.

Zung, W.K.(1971). A rating instrument for anxiety disorder. Journal of Psychosomatic Research, 12, 371-379.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-11