ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร ตําบลสงเปลือย อําเภอนามนจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อนุวัตน์ เพ็งพุฒ
  • พุทธิไกร ประมวล

คำสำคัญ:

สารเคมีกําจัดศัตรูพืช, สารเคมีตกค้างในเลือด, โคลีนเอสเตอเรส

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปริมาณการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มของผู้ป่วยด้วยโรคจากจากพิษภัยของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี โดยสารเคมีกําจัดศัตรูพืชนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเฉพาะในเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีโดยตรง มักจะพบสารเคมีตกค้างในเลือดจากการตรวจหาระดับโคลีนเอสเตอเรส แต่ยังไม่มีการรายงานระบุถึงสาเหตุหรือความเสี่ยงของการตกค้างของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชที่ชัดเจน เพื่อหาแนวทางป้องกันต่อไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเสี่ยงการตกค้างของสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชในเลือดของเกษตรกรตําบลสงเปลือย อําเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytical cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรตําบลสงเปลือยอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมามากกว่า 1 ปี และไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือโรคไต เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 จํานวน 259 คน ทําการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสโดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษ (Reactive paper) และแบบสอบถามเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ทําการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับโคลีนเอสเตอเรสด้วยวิธีการถดถอยโลจีสติก นําเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และ 95% ช่วงความเชื่อมั่น ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรตําบลสงเปลือย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.69 มีอายุระหว่าง 51–60 ปี ร้อยละ 35.52 สถานภาพการอยู่อาศัยเป็นคู่หรือครอบครอบครัว ร้อยละ 86.87 ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับประถมศึกษา ร้อยละ81.07 มีค่ามัธยฐานระยะเวลาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม 25 ปี (ค่าต่ําสุด-ค่าสูงสุด:1–50 ปี) โดยมีระยะเวลาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 29.73และเป็นเกษตรกรปลูกข้าว ร้อยละ 92.28 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรที่ทําเกษตรมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี (ORadj=4.20,95% CI=1.86-9.46) และสถานภาพการอยู่อาศัยเป็นคู่หรือครอบครัว (ORadj=4.74, 95% CI=2.19-10.42) มีความสัมพันธ์กับระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเฝ้าระวังสุขภาพในกลุ่มเกษตรกรปลูกที่มีการทําการเกษตรมากกว่า 1 ครั้งต่อปี รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวที่อาจจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการทําเกษตรหรือได้สัมผัสสารเคมีในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตร ซึ่งเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวควรได้รับการคัดกรองสารเคมีในเลือดจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ