ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าของผู้ป่วยในการรักษา วัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • สุทธิณี สิทธิหล่อ
  • พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ

คำสำคัญ:

วัณโรค, ความล่าช้า

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ในปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ความล่าช้าของผู้ป่วยในการมา
รับการรักษา ส่งผลให้นำไปสู่การแพร่เชื้อและเกิดโรคเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิต งานวิจัยนี้เป็น
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อหาระยะเวลาและความชุกของความล่าช้า รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่
มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าของผู้ป่วยในการรักษาวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ โดยศึกษาในผู้ป่วยวัณ
โรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐในจังหวัดแพร่ ใน
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2557 จำนวน 268 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างและแบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ
อธิบายลักษณะทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา หาความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยวโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย
พหุโลจิสติกอย่างง่าย พหุตัวแปรโดยใช้ถดถอยพหุโลจิสติก แสดงผลด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj)
และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95% CI)
ผลการศึกษาพบว่า เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.5 อายุเฉลี่ย 54.1 ปี ความชุกของPatient delay
มากกว่า 30 วัน ร้อยละ 47.8 (95% CI=41.7-53.8) จากการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับความล่าช้าของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศชาย (ORadj=1.11; 95% CI=
0.51-2.41) อายุ ≤50 ปี (ORadj=2.04; 95% CI=1.09-3.83) ความรู้ต่ำเกี่ยวกับโรค (ORadj=11.50; 95%
CI=3.97-33.26) รายได้ต่อเดือน ≤8,000 บาท (ORadj=2.29; 95% CI=1.05-35.02) การดื่มเครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ (ORadj=2.36; 95% CI=1.27-4.38) การแสวงหาการรักษาโดยการซื้อยากินเอง (ORadj= 6.65;
95% CI=3.65-12.13) และระยะทางในการเดินทางมารับบริการ ≤8 กิโลเมตร (ORadj=2.14; 95% CI=
1.18-3.89)
จากผลการศึกษา เพื่อลดความล่าช้าของผู้ป่วยควรมีการดำเนินการเชิงรุกในการให้ความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรคในชุมชนรวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-07