รูปแบบการฝึกอบรมหัวหน้าแผนกวิชาเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน

Main Article Content

ณพสร สวัสดิบุญญา
พิสิฐ เมธาภัทร
ไพโรจน์ สถิรยากร
สิริรักษ์ รัชชุศานติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการฝึกอบรมหัวหน้าแผนกวิชาเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่หัวหน้าแผนกวิชาประเภทอุตสาหกรรมจากวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง และวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 25 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ80/80 และประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Modelในการเสนอผลวิเคราะห์การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการฝึกอบรมประกอบด้วยหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 11 หัวข้อเรื่อง ได้แก่ 1) หลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา 3) การเขียนโครงการสอน 4) การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม5) การสร้างใบเนื้อหา 6) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 7 ขั้นตอน (Seven Ex’ PBL Model)7) การจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การประเมินผลการเรียนการสอน 9) การวางแผนการสอน 10) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 11) เทคนิคการเป็นวิทยากรฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมคือหัวหน้าแผนกวิชาช่างอุตสาหกรรม โดยมีวิทยากรบรรยายประกอบสื่อฝึกอบรม ใช้เวลาการฝึกอบรม 3 วัน จากการนำหลักสูตรไปใช้ฝึกอบรม พบว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม ภาคทฤษฎีมีค่าเท่ากับ 83.21/83.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คะแนนภาคปฏิบัติมีค่าร้อยละ 89.69ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบหลักสูตรฝึกอบรม มีค่า0.78 ผลการประเมินการจัดฝึกอบรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และจากการติดตามผลการอบรมพบว่าการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้บังคับบัญชาต่อการจัดฝึกอบรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของหัวหน้าแผนกวิชาในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ตามลำดับ

คำสำคัญ: ประสิทธิภาพรูปแบบการฝึกอบรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

 

Abstract

The aims of this research were to develop and validate the efficiency of a Training Model for the Head of Department to Develop Training Programs on Problem - Based Learning Instruction. The samplesubjects were 25 heads of Industrial head departments from Chonburi Technical College, Banglamung Industrial and Community Education College and Navamintrachutit Industrial and Community Education College in Vocational Education Commission by purposive sampling technique. The research instruments were a curriculum in Problem - Based Learning to the set criteria of80/80 and development stage in CIPP Model was employed to assess the efficiency of the training curriculum. Research results that training model for the head department to develop training program son Problem - Based Learning Instruction was eleven topics. There were the principal in Problem–Based Learning, analysis course description, writing teaching project, writing behavior objective, create content, provide learning activity by using Problem-Based Learning 7 steps (7 Ex’PBL Model),manage medias and sources, evaluation, teaching plan, writing teaching plan and lecturer training technic. The trainees were the heads of industrial head departments which training in 3 days by lecturer with presentation. The results of process evaluation indicated that the theory efficiency value was at 83.21/83.58 and the average score of the practical part was 89.69. The reliability of the training curriculum test was 0.78. Satisfied the training by the trainers were high. Product evaluation satisfied by teacher sand the director were high and highest.

Keywords: Efficiency in Training Model, Problem-Based Learning

Article Details

บท
บทความวิจัย