ความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาพลศึกษาในสถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • Gosol Rodma
  • Chatrong Hemara

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, การจัดการเรียนการสอน, พลศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของอาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของอาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือในทัศนะของนักศึกษา ชั้นปีที่ 5 โปรแกรมวิชาพลศึกษา  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) การศึกษาจากเอกสารและการสำรวจจากสถานที่จริง 2) การแจกแบบสอบถามแก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 5 จำนวน 193 คนโดยการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การวิเคราะห์เนื้อหา 2) ใช้สถิติ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน( t – test  fordependent sample )  ผลการศึกษาการศึกษาบริบททั่วไปของการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของอาจารย์ในสถาบันการพลศึกษาพบว่า

  1. สถาบันการพลศึกษา มีวิทยาเขตจำนวน 17 วิทยาเขต โดยอยู่ตามภูมิภาคต่างๆดังนี้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ แห่งละ 4 วิทยาเขต และภาคกลาง 5 วิทยาเขต โดยในแต่ละวิทยาเขตเปิดสอน 3 คณะคือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ

2. ระดับที่คาดหวังในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของอาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือในทัศนะของนักศึกษาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก (ภาพรวมเท่ากับ gif.latex?\bar{X}= 4.22, SD = 0.77) และการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือในทัศนะของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.56, SD = 0.90) และในการเปรียบเทียบระดับที่คาดหวังและการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์สถาบันการพลศึกษาภาคเหนือในทัศนะของนักศึกษาในด้านคุณลักษณะของอาจารย์ ด้านเทคนิคการสอน ด้านการใช้นวัตกรรมสื่อในการสอน และด้านการประเมินผลผู้เรียนพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ทุกข้อ

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่. โรงพิมพ์ครองช่าง.

จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพมหานคร: ก.พลพิมพ์ (1996).

ชาญณรงค์ คำเพชร. (2548). ความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อการ
เรียนวิชาพลศึกษาจังหวัดชลบุรีปีการศึกษา 2548. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธวัส เติมญวน. (2541). ปัญหาการเรียนการสอนพลศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลป. ปริญญานิพนธ์
กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ณรงค์วิทย์แสนทอง. (2547).มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ.กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ปริญญา นาชัยสิทธิ์. (2546). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันราชมงคล
ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2546. ปริญญานิพนธ์. กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ประสิทธิ์ศิลป์ ชมสะห้ายและพาณี จิตต์ภักดี. (2551: บทคัดย่อ). สภาพปัญหาและการปฏิบัติของ
อาจารย์สถาบันการพลศึกษา เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษา. เชียงใหม่. สถาบัน
การพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่.

ประสิทธิ์ ผลพฤกษา (2546). ความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชากิจกรรมพลศึกษา ปีการศึกษา 2545. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพศาล วงศ์ษาโรจน์ ,อัมพร วงศาโรจน์นางอัจฉรา สัจจธรรมนุกูลและเกษร ทนพลกรัง.(2546.).ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เกี่ยวกับการประเมินพฤติกรรมการสอนของอาจารย์วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ ในโครงการสมทบทางวิชาการกับสถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ปีการศึกษา 2545. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ.

พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548ก. (2548).ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ การศาสนา.

พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548ข. (2548). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ การศาสนา.

มานิตย์ นาคเมือง. (2552). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูผู้สอนในสถานศึกษา.
พิษณุโลก.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยงยุทธ อินทร์จันทร์. (2547). ความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาสุขภาพพลานามัยกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(พลศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วณิช นิรันตรานนท์และศศิธร นิรันตรานนท์.(2551).ทิศทางการผลิตครูพลศึกษาในช่วง15 ปี (พ.ศ. 2551
– 2565). อุดรธานี. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี.

วิจิตรา ปั้นเก่า. (2540). ปัญหาการจัดโครงการพลศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค
ในภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยากรเชียงกูล. (2542). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2541 :วิกฤติและโอกาสในการปฏิรูปการศึกษา
และสังคมไทย. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

สถาบันพลศึกษา. (2548)ก. คู่มือการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2548.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สถาบันพลศึกษา. (2550). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพ : สถาบัน
การพลศึกษา.

สุชาดา เมฆพัฒน์, อดิศักดิ์ เมฆพัฒน์, พรพรรณ กาญจนากรและจุมพล กาญจนากร.(2549 ).ความพึงพอใจและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคเหนือ. เชียงใหม่. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศ
ไทยปี 2544. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2565). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

อุมาภรณ์ คงอุไรและคณะ(2549 ). ความพึงพอใจในคุณภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตลำปาง. ลำปาง. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง.

Reimers Eleno Villegas.(2003). Teacher Development : An International Review of the Literature.Paris.CHEMS.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2018

How to Cite