รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของแม่บ้านครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยบนฐาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • Aruneephat Muangsri

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, แม่บ้าน, ข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาภาวะผู้นำของแม่บ้านครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยและสร้างรูปแบบและวิธีการการพัฒนาภาวะผู้นำแม่บ้านครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย บนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แม่บ้านครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย กรมรบพิเศษที่ 5 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 33 คน ซึ่งเลือกโดยวิธีเจาะจง (Purposive Selected) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการมี 2 ประเภท ได้แก่  1) เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรม มี 5 ชุดกิจกรรมหลัก  ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ และการค้นหาตนเอง ชุดกิจกรรมเรียนรู้ ดูเพื่อเอาเยี่ยงอย่าง สร้างเศรษฐกิจครอบครัว  ชุดกิจกรรม  Walk Learning  เส้นทางผู้นำ   บนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุดกิจกรรม งานเดินดี ด้วยโครงการเด่น  และชุดกิจกรรมวิพากษ์โครงการสู่ความฝันที่เป็นจริง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม และแบบสังเกตประเมินภาวะผู้นำ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย  และค่าร้อยละ 

ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาภาวะผู้นำนั้น สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงถึงองค์ประกอบของภาวะผู้นำของแม่บ้านข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความมุ่งมั่นในการดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จ 2) การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล สามารถวิเคราะห์สถานการณ์และผลกระทบจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการสุดท้ายได้ 3) การเป็นผู้ใฝ่ศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกันอย่างถ่องแท้ และลึกซึ้ง 4) การมีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานได้อย่างเป็นขั้นตอน มีแผนงานรองรับปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันความล้มเหลว  5) ยึดมั่นในเหตุผล รับฟังเหตุผลของผู้อื่น และเป็นบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี  6) ความสามารถในการสร้างพลังที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ผลการวิจัยได้สรุปรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของแม่บ้านครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย บนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ว่า “SECuL Model” (Sufficiency Economy, Curriculum, Leadership Model)โดยเริ่มจากพื้นฐานแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพระราชดำริ และผลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาภาวะผู้นำ การพัฒนาบุคคล และการทำงานร่วมกัน แล้วดำเนินการสังเคราะห์เป็นหลักสูตร คู่มือการฝึกอบรม การพัฒนาภาวะผู้นำแม่บ้านข้าราชการทหารชั้นผู้น้อยบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำซึ่งจากรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของแม่บ้านครอบครัวข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย นี้ ส่งผลให้แม่บ้านฯ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการด้านภาวะผู้นำสูงขึ้น ซึ่งการที่แม่บ้านฯ มีภาวะผู้นำสูงขึ้นจะส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกัน

References

กฤษดา จินดาลัทธ, พันเอก. (2549). ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน ของกรม

กองบัญชาการและกองร้อยกองบัญชาการ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก. เอกสารวิจัยส่วนบุคคลวิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง, 2549. กรุงเทพมหานคร.

ชนะชัย พลเตชา, พันเอก. (2550). การวิเคราะห์รายได้ และรายจ่ายของกำลังพลในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง. (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล).วิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร.

นันทวัฒน์ สุขผล. (2543). เทคนิคการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: ธีระป้อมวรรณกรรม.

ปฏิญญา ทุนทุสวัสดิ์,พันเอก. (2549). ความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล สังกัด
พระจุลจอมเกล้า ที่มีต่อคุณภาพชีวิต. (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล).วิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร.

ยงยุทธ สอนไม้, พันเอก. (2550). การพัฒนาภาวะผู้นำนายทหารประทวน กองพลทหารราบที่ 3.
(ดุษฎีบัณฑิตสังคมศาสตร์).มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.

_____.สวัสดิการทหารบก. (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล). วิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง.กรุงเทพมหานคร.
เรวัติ รัตน์ผ่องใส, พลโท.(ม.ปป.).ปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลกองทัพบก.กรุงเทพมหานคร:กองทัพบก.

สหัทยา พลปัถพี. (2548). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

สิทธิ์ สิทธิคงศักดิ์, พันเอก. (2549). ความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของนายทหารชั้นประทวนกรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด. (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล).
วิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร.

สุทธิ ภิบาลแทน และคณะ (2551). จ้าวแผ่นดินราชัยแห่งโลก. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

เสริมศักดิ์ แสนทวีสุข, พันเอก. (2550). ทัศนคติของนายทหารชั้นประทวน และลูกจ้างโรงเรียนนายร้อย

องอาจ พงษ์ศักดิ์, พันเอก. (2550). จริยธรรมของนายทหารสัญญาบัตร สังกัดกองพลทหารราบที่ 9.
(เอกสารวิจัยส่วนบุคคล).วิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร.

อรุณ สมตน, พลตรี. (2550). การเปรียบเทียบความสำเร็จการดำเนินการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทหาร
กองประจำการของกองทัพบก.(เอกสารวิจัยส่วนบุคคล). วิทยาลัยการทัพบกสถาบันวิทยาการทหารบกชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร.

Cascio, Wayne, F. (1995). Managing human resources: productivity, quality of work life, profits. 4th ed. New York: McGraw-Hill.

Douglas, S.(1945 – 1965). Building base home : the department of national defence and military Families, Master of arts war studies faculty of the royal military college of Canada, 2003.

Fisher, C.D. Schoenfieldt, L.F and Shaw, J.B. (1996). Human resources management. 3th ed. Boston : Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2018

How to Cite