การสร้างรูปแบบการเป็นนิติบุคคล ของสถานศึกษาเอกชนเพื่อประสิทธิผลทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • Phubet Poungkaew

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและผลจากการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนเพื่อ
ประสิทธิผลทางการศึกษา และเพื่อกำหนดรูปแบบการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนเพื่อประสิทธิผล
ทางการศึกษา กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองเลขาธิการรักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มส่งเสริม
สถานศึกษาเอกชน ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้รับใบอนุญาต/ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตและสอบถาม การอภิปรายกลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏ
ดังนี้ 1) สภาพการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์
ออสเตรเลีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และการควบคุม โรงเรียนทั่วไปมีระบบ
การบริหารจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในการตัดสินใจ และมีความยืดหยุ่นในการใช้ทรัพยากร สามารถ
บริหารจัดการด้านบุคลากรได้ ตั้งแต่การเลือกรับครู เลือกรับนักเรียน และกำหนดหลักสูตร ส่วนในประเทศไทย
มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจาก
กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับหลายประการยังไม่เอื้อต่อโรงเรียนเอกชนซึ่งมีความแตกต่างในด้านขนาด
และความพร้อม 2) โรงเรียนเอกชนในภาคเหนือตอนบนส่วนใหญ่มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหาร
จัดการในระดับมาก ในด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารทั่วไป
ในระดับมาก ส่วนการบริหารงบประมาณมีความเป็นอิสระในระดับมาก แต่ไม่มีความคล่องตัว เนื่องจาก
งบประมาณเป็นของเจ้าของโรงเรียนหรือมูลนิธิ ซึ่งการเบิกจ่ายต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก
เจ้าของโรงเรียน และคณะกรรมการมูลนิธิ 3) รูปแบบการเปน็ นิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนเพื่อประสิทธิผล
ทางการศึกษา คือ “FINE PRIVATE Model”

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แนวทางการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ข). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ก). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2547. ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

เกษม วัฒนชัย. (2550). เอกสารประกอบการปาฐกถาพิเศษ “เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา”. ม.ป.ท. :
ม.ป.พ.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
___________. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา,
(พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส.

ยุวัฒน์ วฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก.

วรวรรธน์ ไชยคำ. (2550). สภาพการบริหารสถานศึกษาในฐานะที่เป็นนิติบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา
แม่ฮ่องสอน เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550. โรงพิมพ์ ส.ก.ส.ค. ลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2532). บันทึกประจำวัน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) คู่มือการประเมินคุณภาพ
ภายนอก รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไข
เพิ่มเติม พฤศจิกายน 2555). กรุงเทพฯ : บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบฐานโรงเรียน. กรุงเทพฯ : พระรามสี่การพิมพ์.

อวยชัย ศรีตระกูล. (2549). การพัฒนาโรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยสมาคม
โรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite