บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย

ผู้แต่ง

  • Lerpop Sorutana

บทคัดย่อ

ประชาชน และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาสื่อมวลชนในด้านบทบาททางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองของประชาชน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์แยกออกเป็น
2 ส่วน ประกอบด้วย 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย
นักวิชาการ นักการเมือง และนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 24 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบ
เจาะจง และจากวิธีการ Snowball Technique และ 2) ข้อมูลจากเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ทางการเมือง
เอกสารขององค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้งการร่วมสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในการประชุม
สัมมนาที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนกับการพัฒนาทางการเมืองและประชาธิปไตย
ผู้วิจัยทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และสอดคล้องตามสภาพความเป็นจริง
และปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล หลังจากนั้นนำเสนอ
ผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาแบบอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของสื่อมวลชนในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ได้แสดงความชัดเจนใน 3 บทบาทคือ 1) บทบาทการถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
2) บทบาทการเป็นเครื่องมือตรวจสอบทางการเมือง และ 3) บทบาทการเป็นพื้นที่ประสานความเข้าใจ
ทางการเมือง เพียงแต่ว่าความสมบูรณ์ของแต่ละบทบาทนั้น จะขึ้นอยู่กับแต่ละยุคสมัยของการเมือง ซึ่งมี
ที่มาของอำนาจทางการเมืองแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการมาจากการปฏิวัติ รัฐประหาร มาจากการมีฐาน
อำนาจทางการทหารหนุนหลัง ที่มีความผันผวนมากในอดีต หรือแม้แต่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อำนาจบริหาร
จะมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ แต่สื่อก็ยังประสบปัญหาการแสดงบทบาท เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ
เข้าไปกระทบจนทำให้แต่ละบทบาทแสดงได้ไม่สมบูรณ์ อย่างเช่นแนวทางขององค์กรสื่อสารมวลชนมุ่งเน้นผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือการเกิดสื่อใหม่ที่หลากหลาย จากเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้
ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ด้วยกลไกที่มี
สำหรับแนวทางพัฒนาสื่อมวลชนในด้านบทบาททางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชนนั้น แยกออกตามบทบาทในแต่ละด้านคือ 1) บทบาทการถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลข่าวสาร
ทางการเมือง โดยแนวทางในการพัฒนาคือ การพัฒนาเนื้อหาข้อมูล ข่าวสาร ที่จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
คือ 1.1) มีคุณภาพจากการคัดกรอง และผ่านการตรวจสอบจากผู้มีหน้าที่ ที่มีประสบการณ์ และต้องไม่มี
ปัจจัยอื่นใด มามีผลต่อการตัดสินใจ นอกเหนือจากการที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลัก
1.2) มีความรวดเร็ว ถูกต้องในเหตุการณ์ หรือประเด็นที่เกิดขึ้น 1.3) การจัดพื้นที่ ต้องเพียงพอที่จะรองรับ
เนื้อหาที่ครอบคลุม รอบด้านในประเด็นเดียวกัน 2) บทบาทการเป็นเครื่องมือตรวจสอบทางการเมือง
ทิศทางในการพัฒนาของสื่อมวลชนคือ การชี้แนะ วิพากษ์ วิจารณ์ จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญคือ
2.1) มีข้อมูลที่มาจากความถูกต้องเป็นจริง และการตัดสินใจโดยเหตุผล ที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2.2) มีเป้าหมายในการรณรงค์ ให้ยุติความขัดแย้งทางการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความรัก สามัคคีในสังคม
2.3) กระตุ้นให้สังคมเกิดการยอมรับกฎหมายของประเทศ 2.4) ทำการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ไร้อคติ และ
ไม่ชี้นำ ภายใต้ความกดดันของปัจจัยต่างๆ และ 3) บทบาทการเป็นพื้นที่ประสานความเข้าใจทางการเมือง
ในกรณีนี้ สื่อมวลชนต้องพัฒนาให้เกิดความพร้อมของพื้นที่ดังองค์ประกอบต่อไปนี้คือ 3.1) ให้คู่ขัดแย้ง
ทางการเมืองใช้พื้นที่อย่างเท่าเทียมในประเด็นเดียวกัน 3.2) ให้กลุ่มการเมืองอื่นที่ไม่ได้ขัดแย้ง หรือ
ภาคประชาสังคม นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมใช้พื้นที่ในประเด็นที่ขัดแย้ง 3.3) ให้ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ
ในประเด็นการเมืองได้ใช้พื้นที่อย่างทั่วถึงและเสมอภาค

References

กระมล ทองธรรมชาติ และเชาวนะ ไตรมาศ. (2545). วิวัฒนาการของระบอบรัฐธรรมนูญไทยจากอดีต
ถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : กรุงธนพัฒนา.

เกษม ศิริสัมพันธ์. (2551). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทินพันธุ์ นาคาตะ. (2545). ประชาธิปไตยไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สหายบล็อกการพิมพ์
.
นรนิติ เศรษฐบุตร. (2551). การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย. นนทบุรี :
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.

บรรเจิด ทวิ. สัมภาษณ์. 30 มกราคม 2551.

บุญทัน ดอกไธสง. (2549). การบริหารอำนาจ : สงครามแย่งเงิน : ยุคทุนใหม่. กรุงเทพมหานคร :
นัยนาประไพ.

ประมวล รุจนเสรี. (2547). การใช้อำนาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร :
จัดพิมพ์โดย สุเมธ รุจนเสรี.

ประหยัด คูณสมบัติ. สัมภาษณ์. 21 มกราคม 2551.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2545). การเมืองการปกครองของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.

สมควร กวียะ. (2545). การสื่อสารมวลชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : อักษราพิพัฒน์.

เสถียร เชยประทับ. (2540). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง ในสหรัฐอเมริกา.
กรุงเทพมหานคร : เอส ดี เพลส.

สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล. สัมภาษณ์. 23 มกราคม 2551.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

อุบลศักด์ิ ศิริยุวศักด์ิ. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องตน้ สื่อมวลชน วัฒนธรรมและสังคม. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite