คนพิการในที่ทำงาน: ความหลากหลายและระบบสนับสนุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

ผู้แต่ง

  • Supat Chupradit

คำสำคัญ:

คนพิการ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ความหลากหลาย, ระบบสนับสนุน

บทคัดย่อ

พลวัตของความหลากหลายที่เคลื่อนตัวในบริบทการดำเนินชีวิตของมนุษย์ บนพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ การยอมรับความหลากหลาย คุณค่าของความหลากหลาย และการจัดการความหลากหลาย ถือเป็นประเด็น สำคัญ โดยเฉพาะคนพิการที่มีความบกพร่องทางกายภาพอันเป็นอุปสรรคต่อการทำงานในองค์การ รัฐจึงต้อง มีบทบาทต่อการสนับสนุนบุคคลกลุ่มนี้เป็นพิเศษเพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียม หลังจากที่ประเทศไทย ได้ประกาศกฎหมาย พระราชบัญญัติส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ได้เพิ่มสภาพบังคับในระบบสัดส่วนการจ้างงานคนพิการ 100 ต่อ 1 คน อีกทั้งกำหนดให้นายจ้างและสถานประกอบการจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการลา่ ชา้ ตอ้ งเสียดอกเบี้ยรอ้ ยละ 7.5 ตอ่ ป ี และใหอ้ ำนาจแกภ่ าครัฐสามารถอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ เพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้ และให้มีอำนาจโฆษณารายชื่อผู้ปฏิบัติตามกฎหมายและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต่อสาธารณะอย่างเปิดเผยแล้วนั้น แต่สภาพการบังคับทางกฎหมายในปัจจุบันเป็นเพียงการพยายามสร้างความเท่าเทียมผ่านกลไกภาครัฐ ในมิติโอกาสในการทำงานของคนพิการ บทบาทสำคัญควรมุ่งให้ความสนใจต่อการจัดการขององค์การที่จะเอื้อโอกาสให้คนพิการได้เข้าไปทำงานมากขึ้นกว่าเพียงการกำหนดกฎหมายหากองค์การมีความเต็มใจ และมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้คนพิการได้เข้ามาร่วมงานต่างๆ ได้สะท้อน ผ่านนโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก การเลื่อนตำแหน่งงาน การรักษาบุคลากร การปรับเปลี่ยนสิ่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาความลับขององค์การ บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นภาพเชิงซ้อนระหว่างนโยบายสู่การปฏิบัติผ่านการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันของคนพิการที่อยู่ในที่ทำงาน คนพิการกับการมีงานทำ แนวทางการจ้างงานคนพิการ และบทบาทของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ทีมฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบสนับสนุนการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มคนพิการในองค์การที่สนับสนุนและเอื้อให้คนพิการสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กฎกระทรวง กำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับ
เข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ จะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2554. (2554). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557, จาก https://www.
snmrc.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18:disabilities-act&cat
id=18:2010-06-03-03-21-42

กรมประชาสงเคราะห์. (2528). สังคมสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและทุพพลภาพ. กรุงเทพฯ:
กรมประชาสงเคราะห์.

กรมประชาสงเคราะห์. (2534). พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. (อัดสำเนา)

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, กองวิชาการบริหาร
งานบุคคล, กลุ่มงานสรรหาบุคคล. (2543). การส่งเสริมคนพิการเข้าทำงานด้านการศึกษา. กรุงเทพ:
โรงพิมพ์การศาสนา.

กุลวีณ์ วุฒิกร. (2552). การติดตามผลการปฏิบัติงานของคนพิการในสถานประกอบการเขตกรุงเทพมหานคร.
สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกษร พันธุ. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของคนพิการ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.

จิตรา ศิริสมบูรณ์ลาภ. (2557). การจ้างงานคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ พ.ศ.2550. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.
php?nid=11499

จิราวัลย์ คงถาวร. (2547). ความเป็นไปได้ในการจ้างงานคนพิการของบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)
จำกัด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จีระ พุ่มพวง. (2547). สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2543. สืบค้นเมื่อ
2 ธันวาคม 2557, จาก https://web.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_032.htm

บริษัท เฮย์กรุ๊ป. (2556). กลเม็ดเด็ดเพื่อรักษาคนเก่งขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก https://
www.haygroup.com/th/press/details.aspx?id=36468

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550. (2550). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557,
จาก https://e-workfl ow.mot.go.th/law/Uploads/p10.pdf

ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการให้สัมปทาน
จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่
คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ.2552. (2552). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2557, จาก https://www.
snmrc.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18:disabilities-act&cat
id=18:2010-06-03-03-21-42

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ และจุไร ทัพวงษ์. (2554). บทวิพากษ์นโยบายและข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติเกี่ยวกับ
คนพิการในประเทศไทย: ความเสมอภาคในโอกาสของการมีงานทำงานและไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดย
ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมการจัดหางาน. (ม.ป.พ.). แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ
สังคม. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก www.policy.doe.go.th/ebookdoc/020400005604_1.pdf

ศูนย์สื่อสารสังคม. (2557). กรมสุขภาพจิต ชวนคนไทย เข้าใจให้โอกาส เปลี่ยนออทิสติกจาก “ภาระ” ให้เป็น
“พลัง”. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2557, จาก https://www.forums.dmh.go.th/index.php?topic=137048.
0%3Bwap2

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). รายงานการสำรวจคนพิการ พ.ศ.2555. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก
https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/disabilityRep_55.pdf

สุวภา จรดล และโชคชัย สุธาเวศ. (2556). การจัดบริการด้านการจ้างงานของรัฐแก่คนพิการ. วารสารวิทยบริการ,
24(3), 18-32.

อริสา สำรอง. (2553). จิตวิทยาการจัดการและบุคลากร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Ball, P., Monaco, G., Schmeling, J., Schartz, H., & Blanck, P. (2005). Disability as diversity in
Fortune 100 companies. Behavioral Sciences and the Law, 23, 97-121.

Canadian Labour Congress. (2008). Toward inclusion of people with disabilities in the workplace.
Retrieved September 15, 2017, from https://www.canadianlabour.ca/sites/default/fi les/pdfs/
Toward-Inclusion-of-People-with-Disabilities-EN.pdf

Earnest Friday Shawnta S. Friday. (2003). Managing diversity using a strategic planned change
approach. Journal of Management Development, Vol. 22 Iss 10 pp. 863-880.

International Labour Organization. (2001). Code of practice on managing disability in the
workplace. Tripartite Meeting of Experts on the Management of Disability at the Workplace
October 2001. Geneva.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2018

How to Cite