การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียน ภาวะผู้นำ และจิตสาธารณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Manasanan Hatthasak

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, ภาวะผู้นำ, จิตสาธารณะ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล รูปแบบการเรียน ภาวะผู้นำและจิตสาธารณะของนักศึกษา และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์จิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชากรคือ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุม่ ตัวอย่า งคือ นักศึกษาจำนวน 400 คน ในปีการศึกษา 2559 จาก 4 สถาบันอุดมศึกษา ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ .929 สถิติที่ใชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรมีค่าอยู่ระหว่าง .699-.002 ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์จิตสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 6 ตัว คือ รูปแบบการเรียนรู้แบบมีสว่ นรว่ ม แบบอิสระ รว่ มมือ พึ่งพา ภาวะผูน้ ำแบบสรา้ งแรงบันดาลใจ และกระตุน้ ทางปญั ญา สง่ ผลทางบวกสามารถร่วมกันพยากรณ์จิตสาธารณะ มีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 53.9 โดยสร้างเป็นสมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้คะแนนมาตรฐาน Ž = .257(Zรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม) + .175(Zรูปแบบการเรียนรู้แบบอิสระ) + .135(Zภาวะผู้นำแบบสร้างแรงบันดาลใจ) + .230(Zรูปแบบการเรียนรู้แบบพึ่งพา) + .094(Zภาวะผู้นำแบบกระตุ้นทางปัญญา) + .096(Zรูปแบบการเรียนรู้ร่วมมือ)

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์ (1991).

ประทีป จินงี่. (2558). การพัฒนาจิตสาธารณะของเยาวชนตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์,
21(1): 111-133.

อริยา คูหา และสุวิมล นราองอาจ. (2554). จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(2): 81-93.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 23(1): 60-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2018

How to Cite