ลอดลายมังกร: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย ในทศวรรษ 2490-2520

Main Article Content

สุพลธัช เตชะบูรณะ

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก มุ่งศึกษารายละเอียดทางประวัติศาสตร์ที่เป็นต้นเค้าชีวประวัติให้แก่นายเหลียง สือพาณิชย์ของผู้ประพันธ์ ประการที่สองคือ ศึกษาลักษณะและรูปแบบการประกอบธุรกิจของตระกูลสือพาณิชย์ โดยพิจารณาร่วมกับบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงทศวรรษ 2490 - 2520 ตามระยะเวลาการดำเนินเรื่องในวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์ได้ ต้นเค้าชีวประวัติของนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญของประเทศ 2 คน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนและสามารถเทียบกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ได้คือ นายชิน โสภณพนิช และนายเทียม โชควัฒนา มาออกแบบชีวิตของนายเหลียง ส่วนรูปแบบและลักษณะการประกอบธุรกิจของตระกูลสือพาณิชย์นั้น มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในรูปของระบบอุปถัมภ์ การบริหารองค์กรแบบธุรกิจครอบครัวและการแตกแขนงกิจการออกไปในแนวนอน เพศสภาพและสถานภาพของแรงงานในองค์กรที่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ และการประกอบธุรกิจแชร์ในปลายทศวรรษ 2520 ลักษณะทั้งหมดของธุรกิจในตระกูลสือพาณิชย์ดังกล่าวนี้ถือเป็นภาพสะท้อนของการประกอบธุรกิจของคนไทยเชื้อสายจีนในช่วงเวลาที่ศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เตชะบูรณะ ส. (2017). ลอดลายมังกร: การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย ในทศวรรษ 2490-2520. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 18(1), 172–195. https://doi.org/10.14456/lartstu.2018.8
บท
บทความวิชาการ

References

เกษียร เตชะพีระ. (2537). แลลอดลายมังกร: รวมข้อเขียนว่าด้วยความเป็นจีนในสยาม. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

จิรกาญจน์ สงวนพวก. (2538). การเคลื่อนไหวกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า พ.ศ. 2504- 2519. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาตรี เพ็ญศรี. (2539). วาทกรรมการพัฒนารัฐไทย: พ.ศ. 2504-2539. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2556). เราใช่เขา? ภาพเสนอของคนจีนในวรรณกรรมไทยศตวรรษที่ 20. อ่าน, 5(1), 122-153.

ธนาคารกรุงเทพ. (2537). 50 ปีบัวหลวง. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2548). และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภัสสร เสวิกุล. (2551). ลอดลายมังกร (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คเอโนเวล.

ปิยะพร จันวัน. (2547). ทัศนะของผู้หญิงทำงานในสังคมไทย พ.ศ. 2500-2516. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคริสเบเคอร์. (2540). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กร ุงเทพฯ: Silkworms Books.

พรรณี บัวเล็ก. (2528). การเติบโตและพัฒนาการของนายทุนธนาคารพาณิชย ์ในประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัตน์ แสงทองคํา. (2548). The Fall of Thai Banking: กรณีศึกษาฉบับคลาสส ิก.กร ุงเทพฯ: Manager Classics.

วิลลา วิลัยทอง. (2552) กำเนิดอาชีพนักโฆษณาไทยระหว่างทศวรรษ 2490-2510. ศิลปวัฒนธรรม, 30(352), 122-137.

ศศิธร โอเจริญ. (2549). บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพล.อ.เปรมติ ณสูลานนท์ระหว่าง พ.ศ. 2523-2531. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธิ ลิ้มทองกุลและเอกยุทธ อัญชันบุตร. (2528). ดินที่ถูกปั้นให้เป็นดาวแล้วก็กลายเป็นธุลี. ผู้จัดการ, 3(22), 45-62.

สนธิ ลิ้มทองกุลและอภิชาต ชอบชื่นชม. (2528). ชม้อยทิพย์โสวีรสตรีหรือซาตานกันแน่. ผู้จัดการ, 3(25), 32-80.

สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล. (2533). สหพัฒน์ฯ โตแล้วแตกแตกแล้วโต. กรังเทพฯ: ผู้จัดการ.

สินี นาฏเวชแพทย์. (2539). แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร จันทิมาธร. (2537). ธนราชันย์ชินโสภณพนิช. กรุงเทพฯ: มติชน.

อนุสรณ์ในงานพระราชทานดินฝังศพนายเทียมโชควัฒนา. (2534). ม.ป.ท.: โรงพิมพ์ประสานศิลป์.

Gras, N. S. B. (2013). Business History. In Walter A Friedman & Geoffrey Jones (Eds.), Business History (pp.3-16). Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing Limited.

Larson, Henrietta M. (2013). Business History: Retrospect and Prospect. In Walter A Friedman & Geoffrey Jones (Eds.), Business History (pp.17-43). Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing Limited.

Susanto, A. B., & Susanto, P. (2013). The Dragon Network: Inside Stories of the Most Successful Chinese Family Businesses. Singapore: Wiley.

Yen, Ching-hwang. (2014). Ethnic Chinese Business in Asia: History, Culture and Business Enterprise. [Hackensack], NJ: World Scientific.