เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • แบบฟอร์มนำส่งบทความวารสารการสื่อสารมวลชน (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://shorturl.asia/OJUkq)
  • บทความต้นฉบับที่มีการจัดรูปแบบตามรายละเอียดที่วารสารกำหนด นามสกุล .pdf
  • บทความต้นฉบับที่มีการจัดรูปแบบตามรายละเอียดที่วารสารกำหนด นามสกุล .doc หรือ .docx
  • รูปภาพที่ใช้ประกอบในบทความ (ถ้ามี) นามสกุล jpg, jpeg หรือ RAW หรือ TIFF ความละเอียด 300 Pixel/High Resolution ขนาดไฟล์ไม่ต่ำกว่า 500 KB
  • บทความต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด รวมทั้งต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานอื่น
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced)/ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 14 pt/แบบอักษร TH SarabunPSK/ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL)/ความยาว 10-20 หน้า A4/ระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา 2.54 เซนติเมตร/ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • การอ้างอิงให้ใช้รูปแบบ APA, 7th Edition (American Psychological Association, 7th Edition)
  • รูปแบบการเขียนบทความ ดาวน์โหลดเทมเพลตสำหรับเขียนบทความตามรูปแบบวารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการได้ที่ https://docs.google.com/document/d/1zpEWYmTITmR9pezLEfuOH5eeCvEY6I1g/edit#heading=h.gjdgxs

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาบทความ 

1. กองบรรณาธิการ จะไม่พิจารณาบทความหรือข้อเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วในที่อื่นๆ โดยจะต้องเป็นบทความที่เขียนขึ้นมาใหม่ (Original article) ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน (Redundant publication) หากเป็นบทความที่เคยนำเสนอ ในที่ประชุมวิชาการ หรืองานสัมมนาวิชาการที่ใดที่หนึ่งมาก่อน หรือเป็นบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หรือการแปลงานจากภาษาอื่น จะต้องมีการอ้างอิงโดยระบุไว้ในเชิงอรรถ และบทความนั้นจะต้องมีการปรับแก้ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ

2. ผู้เขียนบทความ จะต้องไม่ส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสารในเวลาเดียวกัน (Simultaneous submission)

3. จะต้องไม่เป็นบทความที่ละเมิด หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) รวมถึงการคัดลอกผลงานของตนเอง โดยมิชอบ (Self-plagiarism)

4. กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิในการพิจารณาคัดเลือกบทความที่จะเผยแพร่ โดยความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายในและภายนอกคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิในการพิจารณาตกแต่งต้นฉบับในด้านภาษา ตัวสะกด การันต์ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย

6. กองบรรณาธิการ จะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ โดยจะไม่ส่งต้นฉบับคืน

7. จะต้องเป็นบทความที่มีการจัดรูปแบบ และจัดเตรียมข้อมูลครบถ้วน ตามที่วารสารฯ ได้กำหนดไว้

ขั้นตอนการดำเนินงาน 

การพิจารณาคัดเลือกบทความ และการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เมื่อส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ กองบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้น โดยตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสาร เพื่อส่งให้กับผู้ส่งบทความนำกลับไปแก้ไขเบื้องต้นหรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์

2. เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรให้ดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำการกลั่นกรองต่อไป บรรณาธิการจะแจ้งผู้เขียนให้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดทำวารสาร โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายฯ รายละเอียดดังนี้
- บทความละ 2,400.-บาท
- หากผู้เขียนเป็นคณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานในหมาวิทยาลัย หรือนักศึกษาในสังกัดคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะงดเว้นการเก็บค่าบริการตีพิมพ์
** บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงิน ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น **

3. กองบรรณาธิการจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ (Double-Blind Peer Review) ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด

4. กระบวนการพิจารณาบทความตามข้อ 1-3 จะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยกองบรรณาธิการจะแจ้ง ผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบ โดยกองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์ในวารสาร หรือควรให้ผู้ส่งบทความนำกลับไปแก้ไขให้แล้วเสร็จตามกำหนด

5. ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไข หรือปรับปรุงบทความ ให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ และนำส่งกองบรรณาธิการ ภายใน 7 - 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา

6. กองบรรณาธิการจะนำบทความที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้ว เข้าสู่กระบวนการเรียงพิมพ์ และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่เบื้องต้นให้ผู้เขียนทราบ และกองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ให้ผู้เขียน

7. ผู้เขียนจะได้รับวารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ จำนวน 2 เล่ม เป็นการตอบแทน โดยกองบรรณาธิการจะจัดส่งวารสารให้แก่ผู้เขียนภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการได้รับการเผยแพร่

รูปแบบการเขียนบทความ

ดาวน์โหลดเทมเพลตสำหรับเขียนบทความตามรูปแบบวารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการได้ที่  https://docs.google.com/document/d/1zpEWYmTITmR9pezLEfuOH5eeCvEY6I1g/edit#heading=h.gjdgxs

ขั้นตอนการส่งบทความตีพิมพ์

รายละเอียดการจัดพิมพ์

1. การส่งบทความ ใช้โปรแกรม Microsoft Word ให้พิมพ์ลงกระดาษขนาด A4 แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 Point ควรมีความยาวประมาณ 10-20 หน้า ระยะห่างจากขอบกระดาษ ทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา 2.54 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างบรรทัด เท่ากับ 1 (single space)

2. ควรมีความยาวตั้งแต่ 5,000 คำ แต่ไม่ควรเกินกว่า 15,000 คำ (จำนวนคำ ถือตามการนับจำนวนคำ ใน Microsoft Word) หรือควรมีความยาวประมาณ 10-20 หน้า

3. รูปภาพ ที่ใช้ประกอบในบทความ นามสกุล .jpg, .jpeg หรือ RAW หรือ TIFF ความละเอียด 300 Pixel / High Resolution ขนาดไฟล์ไม่ต่ำกว่า 500KB

4. การอ้างอิงให้ใช้รูปแบบ APA, 7th Edition (American Psychological Association, 7th Edition)

ขอให้ผู้เขียนนำส่งเอกสาร/ข้อมูล ดังรายการต่อไปนี้
1. แบบฟอร์มนำส่งบทความ ซึ่งผู้เขียนรับรองว่าบทความที่นำส่งมานั้น เป็นผลงานของผู้เขียนเอง
ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างเสนอให้วารสารอื่นพิจารณา จำนวน 1 ฉบับ
(ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://shorturl.asia/OJUkq )

2. ไฟล์ดิจิทัล 3 รูปแบบ ดังนี้ 
       (1) บทความต้นฉบับที่มีการจัดรูปแบบตามรายละเอียดที่วารสารกำหนด นามสกุล .pdf
       (2) บทความต้นฉบับที่มีการจัดรูปแบบตามรายละเอียดที่วารสารกำหนด นามสกุล .doc หรือ .docx
       (3) รูปภาพ ที่ใช้ประกอบในบทความ นามสกุล .jpg, .jpeg หรือ RAW หรือ TIFF ความละเอียด
300 Pixel / High Resolution ขนาดไฟล์ไม่ต่ำกว่า 500KB

ส่งมายังกองบรรณาธิการโดยผ่านทางระบบ TCI-ThaiJO ของวารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ
ที่เว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/about/submissions

การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ 

       1. รูปแบบของตัวอักษร ขอให้ผู้เขียนใช้ตัวอักษรที่มีขนาด ชนิด และการจัดรูปแบบ ดังนี้

รายการ

ภาษาไทย (TH SarabunPSK)

English  (TH SarabunPSK)

ขนาด

ชนิด

การจัดเรียง

Size

Type

Alignment

ชื่อเรื่อง/Title

16

หนา

ตรงกลาง

16

Bold

Center

ชื่อผู้เขียน/Author (s)

14

หนา

ชิดขวา

14

Bold

Right Alignment

สังกัดผู้แต่ง/Affiliation (s)

(แสดงในรูปแบบ footnote)

12

ธรรมดา

ชิดซ้าย

12

Regular

Justify

หัวข้อบทคัดย่อ/Abstract Title

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

     
           

เนื้อหาบทคัดย่อ/Abstract

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

คำสำคัญ/Keywords

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

หัวข้อเรื่อง/Heading

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

หัวข้อย่อย/Sub headings

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

เนื้อหา/Article

14

ธรรมดา

กระจายแบบไทย

14

Regular

Justify

ชื่อตารางและชื่อรูปภาพ

/Table or Figure title

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

หัวตาราง/Heading row

14

หนา

กลาง

14

Bold

Center

ข้อความในตาราง หรือภาพ

/text in the table or figure

14

ธรรมดา

ชิดซ้ายหรือขวา

14

Regular

Left or Right Alignment

เชิงอรรถ/footnote

14

ธรรมดา

กระจายแบบไทย

14

Regular

Justify

หัวข้อเอกสารอ้างอิง/References Title

14

หนา

ชิดซ้าย

14

Bold

Left Alignment

เอกสารอ้างอิง/References

14

ธรรมดา

ชิดซ้าย

14

Regular

Left Alignment

            2.  องค์ประกอบของบทความ

รายการ

คำอธิบาย

ชื่อเรื่อง/Title

ระบุชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องไม่ควรยาวเกินไป และครอบคลุมสาระของบทความ และมีความสอดคล้องกันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ชื่อผู้เขียน/Author (s)

-  ระบุชื่อผู้แต่ง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

-  ไม่ควรระบุตำแหน่งทางวิชาการ ยศ/ตำแหน่งทางทหาร คำนำหน้าชื่อ  รวมทั้ง สถานภาพ (อาทิ นักศึกษาปริญญาเอก, อาจารย์ที่ปรึกษา, คณบดี) ทั้งที่ด้านหน้า และท้ายชื่อผู้แต่ง

สังกัดผู้แต่ง/Affiliation (s)

(แสดงใน รูปแบบ footnote)

ระบุชื่อผู้แต่งบทความ ดังนี้

(ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ)................ (วุฒิการศึกษาที่ได้รับ เช่น ศศ.ม. การสื่อสารศึกษา, มหาวิทยาลัย.................., 2558)

ระบุชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา (ถ้ามี) ดังนี้

ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา............... คณะ....................... มหาวิทยาลัย..........................

โดยระบุชื่อหน่วยงานที่ผู้แต่งสังกัดในเชิงอรรถ เรียงจากหน่วยงานระดับต้นไปจนถึงหน่วยงานหลัก

บทคัดย่อ/Abstract

จัดทำบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่มีความสอดคล้องกัน และแต่ละส่วนควรมีความยาวไม่เกิน 10 บรรทัด

คำสำคัญ/Keywords

ระบุคำสำคัญจำนวนไม่เกิน 5 คำ โดยคำสำคัญแต่ละคำ ให้แสดงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งที่มีความหมายตรงกัน

เนื้อหา/Article

-  บทความวิจัย บทความวิชาการ ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ โดยท่านสามารถศึกษาได้ https://bit.ly/2CfItwM

-        การใช้คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการ

(1) กรณีคำภาษาอังกฤษที่มีการใช้ทับศัพท์ภาษาไทยอย่างแพร่หลาย ให้เขียนเป็น ภาษาไทยตามที่มีการบัญญัติศัพท์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยไม่ต้องแสดงคำศัพท์ภาษาอังกฤษประกอบ อาทิ อินเทอร์เน็ต อิเล็กทรอนิกส์ (2) กรณีคำภาษาอังกฤษที่ยังไม่มีการใช้แพร่หลาย ให้เขียนคำแปลภาษาไทย หรือคำทับศัพท์ โดยแสดงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และอักษรย่อ (ถ้ามี) ประกอบในวงเล็บ ทั้งนี้ การเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษในวงเล็บ ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นคำที่มีอักษรย่อหรือคำเฉพาะ จึงจะขึ้นต้นคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และควรเขียนคำภาษาอังกฤษกำกับครั้งแรกเพียงครั้งเดียว ครั้งต่อๆ ไปไม่จำเป็นต้องเขียนภาษาอังกฤษกำกับอีก เช่น องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN)

(3) กรณีคำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีการใช้อักษรย่อ ให้ระบุคำเต็มและอักษรย่อในครั้งแรกที่มีการกล่าวถึง และครั้งต่อไปให้ใช้อักษรย่อเพียงอย่างเดียวได้ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ครั้งต่อไปใช้ อปท., องค์การ สหประชาชาติ (United Nations: UN) ครั้งต่อไปใช้ UN

- การแสดงตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพ

(1) ให้แสดงชื่อตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพ ด้านบนตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพ และใส่หมายเลขกำกับตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพ โดยเรียงตามลำดับการนำเสนอในเนื้อเรื่อง

(2) หากเป็นตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพที่อ้างอิงมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ให้อ้างอิง ที่มาโดยแสดงที่มาไว้ใต้ตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพ (ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ นามปี) และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

(3) หากมีหมายเหตุประกอบตาราง รูปภาพ หรือแผนภาพ ให้ใส่หมายเหตุไว้อีกบรรทัด ใต้ที่มา

-        เชิงอรรถ (footnote) ในเนื้อหา ใช้สำหรับการอธิบายขยายความจากในเนื้อหา เท่านั้น ไม่ใช้สำหรับการอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่อง (การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation))

การอ้างอิงเอกสารในเนื้อหา

/In-text citation

ใช้รูปแบบการอ้างถึงในเนื้อหา (In-text citation) แบบนามปี (Name-and-year system) ในระบบ American Psychological Association 7 th edition (APA) (ดูรายละเอียดในหัวข้อ การอ้างถึงในเนื้อหาและการลงรายการเอกสารอ้างอิง)

เอกสารอ้างอิง/ References

- ให้แสดงรายการเอกสารอ้างอิงตอนท้ายของบทความ โดยใช้รูปแบบเอกสารอ้างอิง ในระบบ APA โดยผู้เขียนต้องตรวจสอบข้อมูลการอ้างอิงให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้ง รายการเอกสารอ้างอิงจะต้องครอบคลุมรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา

- ให้แสดงรายการเอกสารอ้างอิงโดยเรียงลำดับตามตัวอักษร และให้เรียงรายการ เอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยก่อน แล้วจึงตามด้วยรายการเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาต่างประเทศ

         3. การอ้างถึงในเนื้อหา และการลงรายการเอกสารอ้างอิง จาก ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์คณะครุศําสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถดูเอกสารประกอบการอ้างอิง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/153329/111738