วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm <p><strong>วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ</strong></p> <p>เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ผ่านการรับรองคุณภาพวารสาร Thai-Journal Citation Index: TCI Group II</p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์<br />และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านการสื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่มีผลงานเกี่ยวเนื่องกับศาสตร์ทางด้านนี้ และเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการสื่อสารในสาขาวิชาต่างๆ มากขึ้น</p> <p><span lang="th">กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่<br /></span><span lang="th">- ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน กำหนดเผยแพร่ในเดือน มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม กำหนดเผยแพร่ในเดือน ธันวาคม</span></p> <p><strong>ISSN: <span class="WdYUQQ text-decoration-none text-strikethrough-none">2985-0665</span> (Print) </strong><strong>ISSN: <span class="WdYUQQ text-decoration-none text-strikethrough-none">2985-0673 </span>(Online)</strong></p> คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Faculty of Mass Communication, Chiang Mai University) th-TH วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ 2985-0665 <p>ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ</p> แนวคิดอัตลักษณ์กับงานวิจัยสื่อสารศึกษาของไทย ปี พ.ศ.2548-2565 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/269631 <p>บทความทางวิชาการนี้เป็นการวิเคราะห์แนวคิดอัตลักษณ์กับงานวิจัยสื่อสารศึกษาของไทย ในปี พ.ศ.2548-2565 โดยได้วิเคราะห์งานวิจัยทั้งหมดจำนวน 56 เรื่อง ในช่วงระยะเวลา 17 ปี ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์งานวิจัยที่ปรากฏอยู่ในระบบฐาน TDC หรือ Thai Digital Collection ที่เป็นฐานข้อมูลจากสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป ใช้การวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (typological analysis) จากการวิเคราะห์ทำให้สามารถจำแนกงานวิจัยสื่อสารศึกษาของไทย โดยเน้นประเด็นเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิต อุดมการณ์ สำนึก กฎเกณฑ์ พิธีกรรม ซึ่งสามารถออกมาได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) อัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล: บุคลิกภาพและรสนิยมเฉพาะตัว เป็นอัตลักษณ์ที่มีการประกอบสร้างผ่านตัวตนของตนเอง 2) อัตลักษณ์ของกลุ่มคนในช่วงอายุต่าง ๆ: การต่อสู้ระหว่างความคาดหวังของสังคมกับโลกความเป็นจริง 3) อัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมย่อย: พื้นที่แสดงตัวตนของคนที่แตกต่าง 4) อัตลักษณ์ชุมชนและเชื้อชาติ: ประกอบสร้างจากภูมิประเทศ บุคลิกภาพ บทเพลงและอาหาร และ 5) อัตลักษณ์ของสื่อ: รูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่าง</p> คมสัน รัตนะสิมากูล อัญมณี ภักดีมวลชน Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 1 31 มองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในประเทศไทยผ่านแนวคิดและทฤษฎี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/268886 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่อธิบายการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยวิธีการศึกษาเอกสาร บทความ ตำราและงานวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นแนวทางศึกษาปรากฏการณ์การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในประเทศไทย ตามแนวคิดและทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติชาร์ล ดาร์วิน แนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ทฤษฎีการรื้อสร้าง และแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ จากทฤษฎีวิวัฒนาการทำให้พบว่าการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์มีวิวัฒนาการในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มต้นการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ขั้นที่ 2 ขั้นยอมรับการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ขั้นที่ 3 ขั้นอิ่มตัวรูปแบบเดิมเกิดรูปแบบการปลอมตัว ขั้นที่ 4 ขั้นอิ่มตัวรูปแบบเดิมเกิดรูปแบบใหม่ภาคต่อ และขั้นที่ 5 ขั้นอิ่มตัวรูปแบบเดิมเกิดรูปแบบผลิตซ้ำซีรีส์ต่างประเทศ จากแนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมที่มีความเชื่อว่าวัฒนธรรมใดถูกบันทึกจะทำให้วัฒนธรรมนั้นยังคงดำรงอยู่ ซึ่งการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์เป็นวิถีการผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้เกิดการดำรงอยู่ในความหมาย 3 ความหมาย ได้แก่ การทำซ้ำหรือการตอกย้ำ การรักษาหรือการสืบทอด และการหวนระลึกอดีต ในเชิงประจักษ์ การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์มีกระบวนการผลิตที่มีการเลือกสรรและตีความภาษาโดยอธิบายผ่านทฤษฎีการรื้อสร้างบทละคร ได้แก่ ชื่อเรื่อง แก่นของเรื่อง โครงเรื่อง และความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การรื้อทวนสร้างใหม่เป็นการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ดังที่ปรากฏให้รับชมในประเทศไทย<br /><br /></p> เพิ่มพร ณ นคร Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 64 96 ลักษณะและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/271846 <p>การวิจัยเรื่องลักษณะและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด กระบวนการสร้างและลักษณะของดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ระหว่างปีพุทธศักราช 2553-2565 จำนวน 11 เรื่อง ได้แก่ ซามูไร อโยธยา คนโขน เอคโค่ จิ๋วก้องโลก จันดารา ปัจฉิมบท คิดถึงวิทยา ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ พรจากฟ้า ฉลาดเกมส์โกง 9 ศาสตรา ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า ร่างทรง ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะของดนตรีประกอบและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ยังคงทำงานในแวดวงดนตรีและเป็นผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ระหว่างปีพุทธศักราช 2553-2565 จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สามารถแบ่งผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือเพื่อศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ได้แก่ (1) ดนตรีประกอบภาพยนตร์เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องคอยสนับสนุนในจังหวะและเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ภาพยนตร์เกิดความสมบูรณ์โดยไม่โดดเด่นหรือล้นจนแย่งความสำคัญของภาพหรือความสนใจของผู้ชมภาพยนตร์ (2) บันไดเสียงไมเนอร์เป็นบันไดเสียงที่พบในดนตรีประกอบภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่เพราะมีลักษณะของเสียงที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกและเร้าอารมณ์ (3) ธีมดนตรีที่เป็นตัวแทนของเรื่องราวและตัวละครในภาพยนตร์มักปรากฏในหลายช่วงของภาพยนตร์โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งจนถึงช่วงท้ายที่ถูกบรรเลงแบบเต็มรูปแบบ (4) กระบวนการสร้าง ดนตรีประกอบภาพยนตร์เริ่มต้นจากการที่ผู้ประพันธ์ได้รับโจทย์ แล้วจึงใช้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับการสื่อสารกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ได้แก่ บทภาพยนตร์ การพูดคุย การได้รับดนตรีอ้างอิง การสร้างตัวอย่างดนตรี จากนั้นจึงใช้แนวคิดและเรียบเรียงดนตรีก่อนที่จะส่งผลงานให้ผู้กำกับภาพยนตร์ลงความเห็นเป็นระยะ ๆ เพื่อนำเข้าไปสู่กระบวนการตัดต่อและทดสอบเสียงร่วมกับภาพให้พร้อมสำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 คือเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ได้แก่ การผสมผสานดนตรีตะวันออกและดนตรีตะวันตก การใช้บันไดเสียงเพื่อสร้างธีมดนตรี การใช้องค์ประกอบทางด้านเสียงอื่น ๆ</p> พรชา จุลินทร อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 32 63 สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางการโฆษณาทางโทรทัศน์ที่เหมาะสม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/269353 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสถานการณ์การโฆษณาทางโทรทัศน์ ผลกระทบของโฆษณาทางโทรทัศน์ และแนวทางการโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีความเหมาะสม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการโฆษณาทางโทรทัศน์ จำนวน 30 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การประกอบธุรกิจรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป อันเกิดจากการปรับเปลี่ยนระบบการถ่ายทอดจากระบบแอนะล็อกเป็นระบบดิจิทัล การเติบโตของสื่อออนไลน์ และพฤติกรรมของผู้ชมรายการ ส่งผลให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลงจึงต้องเพิ่มช่องทางในการหารายได้ โดยรายได้สำคัญ คือ รายได้จากภาพยนตร์โฆษณา โฆษณาแฝง และรายการจำหน่ายสินค้า ซึ่งโฆษณาดังกล่าวมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อปัจเจกบุคคล สถาบันและสังคม โดยแนวทางการนำเสนอโฆษณาทางโทรทัศน์พบว่า โฆษณาแฝงและรายการจำหน่ายสินค้าควรมีการกำหนดแนวทางในการนำเสนอที่เหมาะสม อันได้แก่ คำนึงถึงความเหมาะสมและคุณภาพของสินค้า ความเข้ากันได้กับเนื้อหา/ รูปแบบของรายการ ปริมาณการนำเสนอที่ไม่มากเกินไป ไม่ส่งเสริมการซื้อ มีการระบุข้อความหรือสัญลักษณ์เมื่อมีการปรากฏของโฆษณาแฝงและนำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริง ไม่อ้างผลลัพธ์การใช้งานจากผู้ใช้สินค้า ทั้งนี้รายการโทรทัศน์แต่ละประเภทมีข้อเสนอในการกำกับดูแลที่แตกต่างกันไป</p> บุหงา ชัยสุวรรณ พรรณพิลาศ กุลดิลก ชัชญา สกุณา ฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 97 127 Examining the COVID-19 Infodemic on Twitter: A Social Network Analysis in the Context of Thailand https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/268273 <p>Previous research on the COVID-19 infodemic has focused on the Western world and a limited time frame. This study aims to bridge the gap by examining the infodemic in a different context - Thailand - over a longer period, from December 31, 2019 to July 31, 2021. The study’s objectives are to: understand how COVID-19 information pollution is spread on Twitter, assess the effectiveness of counter-narratives in reaching users, and identify the most common types of information pollution and trends. Content, sentiment, and social network analyses were conducted to achieve the study's objectives. The results showed that five categories of disinformation were the most common in the dataset: politics (45.70%), medical information (21.31%), vaccine_politics (16.33%), conspiracy_theory (7.68%), and vaccine_medical_info (6.28%). Most nodes interacted with information pollution (59.51%). Only a small proportion of the nodes engaged with debunking/fact-checked messages (16.87%) or both information pollution and debunking/fact-checked messages (23.61%). The results also revealed that the communication network is not completely isolated, as there are nodes that are well-connected to both information pollution and debunking/fact-checked messages. This suggests that users may be exposed to diverse content, even if they are primarily interacting with information pollution. Understanding the problem in its actual context could lead to the development of appropriate and effective responses to the current and future infodemic.</p> Abhibhu Kitikamdhorn Pirongrong Ramasoota Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 128 172 กลยุทธ์การชักจูงใจของคณะก้าวหน้าผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/267285 <p>การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง กลยุทธ์การชักจูงใจของคณะก้าวหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การชักจูงใจไปยังกลุ่มเป้าหมายของคณะก้าวหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก โดยศึกษาแบบ Content analysis ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้แก่ ศึกษาข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นผลกระบวนการวางแผนจากวิธีการสื่อสารทางการเมือง เพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองของพรรคโดยมีการศึกษากระบวนการสื่อสารจากเฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage) ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารทางการเมืองของคณะก้าวหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมผ่านแบบบันทึกข้อมูล มาวิเคราะห์เนื้อหาผ่านแนวคิดกลยุทธ์การชักจูงใจ 9 กลยุทธ์ การใช้กลยุทธ์การชักจูงใจของเพจคณะก้าวหน้า ทั้งหมดจำนวน 208 ครั้ง ซึ่งมีการใช้กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการสื่อสาร (Liking) มากที่สุด จำนวน 85 ครั้ง รองลงมาคือ กลยุทธ์การอธิบายรายละเอียดข้อมูล (Explanation) จำนวน 40 ครั้ง และกลยุทธ์ที่ใช้น้อยที่สุดคือ กลยุทธ์การทวงบุญคุณ (Debt) จำนวน 1 ครั้ง ตามลำดับ</p> <p>นอกจากนี้มีการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณะคือมีรายละเอียดที่เป็นเนื้อหาในการให้ความรู้ผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองให้ประชาชนหรือกลุ่มผู้ให้สมาชิกเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้าใจในเหตุการณ์โดยง่ายประกอบการใช้จุดเด่นของเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์คือ เครื่องหมาย #แฮ็ชแท็ก เช่น #คณะก้าวหน้า ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดเป็นศูนย์กลางการสื่อสารของพรรคและการแสดงความคิดเห็นของเครือข่ายทางการเมืองบนเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์หวังให้เกิดเป็นกระแสความสนใจของสังคมจากเนื้อหาการสื่อสารทั้ง 2 ส่วน มีลักษณะการส่งสารที่เป็นกิจกรรมทางการเมืองของตัวเองและกิจกรรมของคณะก้าวหน้า โดยสารที่มีการส่งไปถึงกลุ่มประชาชนนั้นมีเนื้อหาที่ชักชวนหรือเชิญชวนการมาเป็นสมาชิกคณะก้าวหน้า ดังนั้นคณะก้าวหน้า จึงได้มีการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่เรียกว่าเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ที่มีประชาชนไทยนิยมใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ก่อนแล้วเพื่อสามารถที่จะลดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้</p> ชมพูนุท วุฒิมา กรวรรณ กฤตวรกาญจน์ Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 173 198 อัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงของศิลปินกรณีศึกษา สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ณัฐวุฒิ ธุระวร และบัญชา มุแฮ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/268063 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนออัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลง และเพื่อศึกษาการนำเสนออัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลงของศิลปิน โดยเน้นการวิเคราะห์เนื้อหาเพลงและการสัมภาษณ์เจาะลึก แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างหมวดหมู่อัตลักษณ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาการนำเสนออัตลักษณ์ปกาเกอะญอในบทเพลง 9 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเคลื่อนย้ายสู่เมือง (2) ความเชื่อดั้งเดิม ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับปกาเกอะญอ (4) ความรัก (5) มิตรภาพ (6) หลักคำสั่งสอน (7) พลวัติและการปรับตัว (8) วิถีปกาเกอะญอ (9) เพลงที่ไม่ปรากฏเนื้อหา แต่เปิดโอกาสให้ตีความตามชื่อเพลง และพบการนำเสนออัตลักษณ์ 3 ระดับ คือ อัตลักษณ์ปัจเจกบุคคล เป็นการประกอบสร้างประสบการณ์จากมุมมองที่มีต่อตนเอง อัตลักษณ์ร่วม เป็นอัตลักษณ์ที่ใช้แนวคิดประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นเงื่อนไขเพื่อสร้างพลังทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางสังคม เป็นการยกระดับคุณค่า ความหมายทางวัฒนธรรม เพื่อต่อรองความหมายใหม่แก่นิยามปกาเกอะญอ ในฐานะพลเมืองไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p> <p>นอกจากนี้ยังพบว่าการตัดสินใจแสดงอัตลักษณ์นั้นมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์เชิงอำนาจกับบริบทพื้นที่ที่จะต้องปฏิสัมพันธ์ ด้วยเหตุดังกล่าว อัตลักษณ์ปกาเกอะญอจึงไม่หยุดนิ่งและลื่นไหลไปตามบริบทของสถานที่และเวลา</p> <p> </p> ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี จิรเวทย์ รักชาติ Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 199 221 กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายนพเกล้าเฉลิมพระเกียรติของกลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข บ้านดอนข่า จังหวัดขอนแก่น ด้วยการเล่าเรื่องราวและการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/268723 <p>การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านการเล่าเรื่อง ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารรายงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น เอกสารรายงานผลการดำเนินงานจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่นพเกล้าเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข บ้านดอนข่า จังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโขเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ด้วยการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนบ้านดอนคาและจังหวัดขอนแก่น ผ่านการออกแบบลวดลายผ้าทำให้ผ้าไหมมัดหมี่มีเรื่องราวและความวิจิตรงดงามที่ถ่ายทอดลงบนผืนผ้าไหม นอกจากนี้ ผ้าไหมมัดหมี่ยังเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้วยการสอดแทรกการเล่าเรื่องของแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ และการลดของเสียให้เป็นศูนย์ด้วยการทำสีย้อมไหม สีย้อมไหมเกิดจากกระบวนการกำจัดวัสดุเหลือใช้ซึ่งเป็นพืชในชุมชนที่เรียกว่า “ไหมดี สีกินได้” ยังมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอีกด้วย บรรจุภัณฑ์ยังบอกเล่าเรื่องราวและแนวคิดของชุมชนผ่านวัสดุที่ใช้และลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม และแนวคิดของชุมชนผ่านวัสดุที่ใช้และการออกแบบลวดลายผ้าจึงเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไหมมัดหมี่และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข</p> สรียา วิจิตรเสถียร ชนิกานต์ สืบผาสุข Copyright (c) 2023 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 11 2 222 244