การพัฒนารูปแบบการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้ The Development of Model Using the Results from Educational Quality Assurance to Improve the Quality of Small Basic Educational Schools in Southern T

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ    1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้


วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก และขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงและเผยแพร่รูปแบบ โดยผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. การนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้ ภาพรวมมีระดับการนำไปใช้ในปัจจุบันตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อดำเนินการที่เป็นเลิศอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อดำเนินการที่เป็นเลิศอยู่ในระดับมากที่สุด อีกทั้งการนำผลการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศทั้ง 7 หมวด ยังไม่เห็นเชิงประจักษ์ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะโรงเรียนได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นแนวทางสำคัญ

  2. 2. รูปแบบการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้ ได้มีแนวคิดและค่านิยมหลักของรูปแบบ คือ 1) การบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา 2) การบริหารบนฐานของข้อมูลและสารสนเทศ 3) การตัดสินใจทางการบริหารตามผลการประเมิน 4) การรายงานผลลัพธ์การดำเนินงาน 5) การพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ 6) การสร้างภาพลักษณ์ของสถานศึกษา ส่วนกลไกและกระบวนการบริหารของรูปแบบ ประกอบด้วยขั้นตอนในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวคิดทฤษฎี

ระบบเป็น 3 ขั้นตอน คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) พร้อมกับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก  ได้ให้ความเห็นว่าองค์ประกอบทั้ง 10 องค์ประกอบของรูปแบบมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ พร้อมกับรูปแบบได้มีประสิทธิผลในการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก


            This study is a research and development project which aims are 1) to study the current situations and needs of an educational quality assurance implementation for the small schools quality improvement in southern Thailand. 2) to develop a model of using the results from educational quality assurance to improve the quality of small educational schools in southern Thailand.  3) to assess a model of using the results from educational quality assurance to improve the quality of small educational schools in southern Thailand.


The research methodology consists of 5 steps as follows:


            Step 1: Study the current situations and needs of an educational quality assurance implementation for the small schools quality improvement in southern Thailand. Step 2: Develop a model of using the results from educational quality assurance to improve the quality of small educational schools in southern Thailand. Step 3: Assess the model. Step 4: Test the model in a small school and compare with another one which doesn’t use the model by Pretest-Posttest Equivalent Groups Design. Step 5: Improve and Diffuse the model.


The results of the study found that


  1. Overall, the current level of an educational quality assurance implementation for excellent performance was moderate. And the demanding level of an educational quality assurance implementation was excellent. Moreover, an educational quality assurance implementation for excellent performance of all 7 categories was not clearly showed because the schools followed the developing plan and the annual action plan framework.

  2. The main concepts and values ​​of a model were: 1) management towards excellence; 2) management based on information and technology; 3) Making decisions based on the assessment results; 4) Operation report; 5) Continually school development and; 6) Creating a school image. The administrative processes of a model consist of 3 steps in the management of educational institutions according to the concept of system theory: input, process and output together with feedback, which most experts, connoisseurs and practitioners who involved in small schools agreed that the 10 elements of the model are appropriate and possible, and it has been effective in improving the quality of school management.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
นครชัย ชาญอุไร. (2554). การพัฒนารูปแบบการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียน
ขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์การ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประกอบ คุณารักษ์ และคณะ. (2543). สภาพความพร้อมของหน่วยงานทางการศึกษาต่อการปฏิรูปการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ศิริวัฒน์ วรนาม. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินในการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาวิจัยการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิชัย เจริญพิวัฒพงษ์. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามแนวทางการบริหารงานแบบ
มุ่งคุณภาพทั้งองค์การสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ประกายเกียรติ. (2553). การพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบัลดริจเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Atria, J.P. (2000). “The Effect of the Illinois Quality Assurance and Improvement Planning
Process on Chicago Public School Teacher Attitudes Toward School Improvement”. Dissertation Abstracts International. 60(12): 4254-A; June.
Castetter, W.B. (1992). The Human Resource Function in Educational Administration. 5th ed.,
New Jersey: A Simon &Schuster Company.
Dale, L.T. (2003). Perceived Importance and Implementation of the Baldrige Criteria in Selected School
on Probation. [Online]. Available From: http://wwwlib.umi.com/dissertations/results?set_num=1. [November 16, 2016]
Hawk, J.B. (2004). Baldrige Criteria for Performance Excellence in Illinois Public School: Understandinand
Implementation. [Online]. Available From: http://wwwlib.umi.com/dissertations/results?set_num=1.
[November 16, 2016]
Ka-ho, Mok. (2003). Decentralization and Marketization of Education in Singapore: A Case Study of the
School Excellence Model. [Online]. Available From: http://www.emeraldinsight.com/10.1108/ 09578230310481621. [November 16, 2016]
Preskill, H. & Caracelli, V. (2003). Current and Developing Concepts of Use : Evaluation Use TIG
Survey Result. [Online]. Available From: http://web1.epnet.com [November 16 ,2016].