รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วสุกฤต สุวรรณเทน
วัลนิกา ฉลากบาง
วาโร เพ็งสวัสดิ์
ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 686 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์

    ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สมรรถนะขององค์การ บรรยากาศของโรงเรียนและการบริหารจัดการเรียนรู้ สำหรับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย คุณภาพผู้เรียน ประสิทธิภาพในการบริหารงาน การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน และความพึงพอใจในการทำงาน 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 65.84, P-value = 1, df = 127, RMSEA = 0.00 AGFI = 0.98, LSR = 1.94) การบริหารจัดการเรียนรู้มีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียนและสมรรถนะขององค์การ ตามลำดับ  3) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สมรรถนะขององค์การ บรรยากาศของโรงเรียนและการบริหารจัดการเรียนรู้ สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ร้อยละ 57

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)