เทคโนโลยีเว็บสู่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย 4.0

Authors

  • ศิริกาญจน์ โพธิ์เขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Keywords:

ห้องสมุด 4.0, เทคโนโลยีสารสนเทศ, พัฒนาการของเว็บไซต์

Abstract

        เว็บ (Web) 4.0 มีลักษณะเป็น Ultra-intelligent electronic agents ซึ่งเป็นนิยามใหม่ครอบคลุมนิยามของเว็บ 1.0 ถึง เว็บ 2.0 ในการพัฒนาช่วงสมัยระหว่างรุ่นต่อรุ่นของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่มีช่วงอายุที่สั้นมาก กล่าวคือ ในช่วงของเว็บ 1.0 สิ่งที่โดดเด่นคือ เสิร์ชเอนจิน (Search engine) เช่น Yahoo ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 1990 ต่อมาในยุคของเว็บ 2.0 ลักษณะที่เห็นอย่างชัดเจน คือ โซเชียลมีเดีย (Social media) เช่น วิกิพีเดีย (Wikipedia) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางเครือข่ายในการพัฒนาข้อมูล หรือเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเว็บไซต์ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) และทวิตเตอร์(Twitter) เป็นต้น ยุคของเว็บ 3.0 เป็นยุคที่คนส่วนใหญ่รู้จักเทคโนโลยี เว็บ 3 มิติ (3D Web) โดยมีพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลด้วยความเร็วสูง การพัฒนาเครือข่ายที่รวดเร็วขึ้น และเรื่องของพื้นที่ในการจัดเก็บที่มีมากขึ้น และเว็บ 4.0 เป็นการเชื่อมต่อของระบบอัจฉริยะในการติดต่อและใช้ประโยชน์ร่วมกัน เนื่องจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้กับเครื่องจักรที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น ดังเช่นพัฒนาการของห้องสมุดที่มีลักษณะคู่ขนานและเชื่อมโยงกับการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่ห้องสมุด 1.0 ถึง ห้องสมุด 4.0 เช่นเดียวกัน

        ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาสภาพแวดล้อมการทำงานในห้องสมุดมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและลุ่มลึกโดยเฉพาะด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปออนไลน์ ซึ่งบรรณารักษ์ไม่สามารถปฏิเสธได้ การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้การทำงานของบรรณารักษ์อยู่ในรูปดิจิทัลทั้งสิ้น เช่น ฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์ออนไลน์ ซอฟต์แวร์เฉพาะ เป็นต้น ดังนั้นห้องสมุดในยุคต่างๆ ตั้งแต่ 1.0-4.0 จึงเป็นพัฒนาการที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีเว็บนั่นเอง ซึ่งห้องสมุดยุค4.0 เป็นแนวคิดซึ่งจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่รุดหน้า การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่วิชาชีพบรรณารักษ์ต้องการพร้อม ๆ กับระบบที่เกิดขึ้น และการฝึกฝนอย่างทุ่มเท ห้องสมุด 4.0 จะสามารถรองรับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่เชื่อมต่อกันหรือเป็นอิสระต่อกันไม่มีข้อสงสัยว่ายุคของห้องสมุด 4.0 นี้จะต้องเผชิญกับความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการบริหารจัดการ เทคโนโลยี การใช้สื่อสังคมออนไลน์ การปรับตัวของบรรณารักษ์ รวมถึงพื้นที่ใช้สอยของห้องสมุดที่ต้องให้สอดคล้องกับยุคห้องสมุด 4.0 นั่นเอง

References

ทรูปลูกปัญญา. (2560). CIBA มธบ.ปั้น 9 หลักสูตรสร้างนักธุรกิจตอบโจทย์ยุคดิจิทัล. สืบค้น 17 กันยายน 2561, จาก https://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/news/26648
เทคโนโลยีเสมือนจริงในงานห้องสมุด. (2018). สืบค้น 23 กันยายน 2561,จาก https://thatcha20109. wordpress.com/2018/07/07/augmented-reality-ar-in-library-
%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%
B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4/
สำนักอุทยานการเรียนรู้. (ม.ป.ป.). โฉมหน้าใหม่ห้องสมุด เมื่อโลกมุ่งสู่ยุคดิจิทัล. สืบค้น 10 สิงหาคม 2561, จาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/382/
Aghaei, S., Nematbaksh, M. A.,& Farsani, H. K. (January, 2012). Evolution of the world wide from web 1.0 to web 4.0. International Journal of Web & Semantic
Technology. 3(1), 1-10_

Downloads

Published

2018-12-24