ภาวะสุขภาพและความพร้อมของชุมชนต่อการจัดการอาชีวอนามัยของแรงงานสูงอายุ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จำนงค์ ธนะภพ

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของแรงงานผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และประเมินความพร้อมของชุมชนในการจัดการด้านอาชีวอนามัยของแรงงานสูงอายุ โดยใช้รูปแบบความพร้อมของชุมชน (Community Readiness Model : CRM) ใน 6 มิติ ได้แก่ ด้านความพยายาม ด้านการรับรู้ของความพยายาม ด้านผู้นำ ด้านทัศนคติ ด้านความรู้ และด้านทรัพยากร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรภาครัฐ นายจ้าง และแรงงานผู้สูงอายุ จำนวน 32, 6 และ 440 คน ตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า ภาวะสุขภาพของแรงงานผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ร้อยละ 99.1, 96.6 และ 97.1 ตามลำดับ สำหรับภาวะทางสังคมพบว่า แรงงานผู้สูงอายุ ร้อยละ 93.2 มีความสัมพันธ์ในครอบครัวระดับดี และ ร้อยละ 68.6 ต้องการความช่วยเหลือจากสังคม ด้านความพร้อมของชุมชนต่อการจัดการด้านอาชีวอนามัยในแรงงานสูงอายุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 จัดอยู่ในระดับ 2 ปฏิเสธ/ต่อต้าน โดยสมาชิกในชุมชนบางส่วนรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนเพียงเล็กน้อย


ดังนั้นเพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานสูงอายุ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรกำหนดนโยบายด้านอาชีวอนามัยที่ชัดเจนและมีการถ่ายทอดแผนการปฏิบัติงานสู่ชุมชน


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแรงงานผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2556 แผนปฏิบัติการด้านแรงงานผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2557. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mol.go.th/images/Plan_old_2557.pdf
2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2558.
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th
4. สำนักงานสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประชากรในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.
5. เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม, สมชาย วิริภิรมย์กูล, ปราณี สุทธิสุคนธ์, จำรูญ มีขนอน. คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุไทย. วารสารควบคุมโรค 2554;37:222-8.
6. สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยบูรณาการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ; 2556.
7. เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, กุศล สุนทรธาดา, เสาวภา พรสิริพงษ์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, พัตธนี วินิจจะกูล, วราพร ศรีสุพรรณ และคณะ. การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2557;8:120-31.
8. ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์, พิไลลักษณ์ พลพิลา, พิเชษฐ โฉมเฉลา, จรรยารักษ์ เยทส์, โสภาพรรณ จิรนิรัติศัย, ฟาอีซะ โตะโยะ และคณะ. การพัฒนาการจัดการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิสำหรับแรงงานนอกระบบ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2556;20:79-92.
9. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. แรงงานสูงอายุ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก www.summacheeva.org/index_article_elder.htm
10. Plested BA, Edwards RW, Jumper-Thurman P. Community Readiness: A handbook for successful change. Fort Collins: Tri-Ethnic Center for Prevention Research; 2006.
11. Stanley LR. Community Readiness for Community Change. 2nd ed. Fort Collins: Tri-Ethnic Center for Prevention Research; 2014.
12. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก https://www.tmc.or.th/psb_doc/psb6.pdf
13. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. โครงการต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัย; 2558.
14. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://www.themindthailand.com/files/
15. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. การจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในระดับตำบลอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ; 2555.
16. ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ผู้สูงอายุไทยกับการทำงาน. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://www.nidapoll.nida.ac.th
17. กิตติมาพร โลกาวิทย์. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2556;5:194-211.
18. พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว, รติพร ถึงฝั่ง. การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย 2559;21:94-109.
19. ชลกร ศิรวรรธนะ, ทิพย์วัลย์ สุรินยา. การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในชุมชน กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2556;39: 80-94.
20. พรทิพย์ สุขอดิศัย, จันทร์ชลี มาพุทธ, และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม 2557;10:90-102.
21. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdb.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf
22. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. แผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.2558 - 2560. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก https://www.nakhonsithammarat.m-society.go.th/data.html
23. พนมวัลณ์ แก้วหีด, ศศิธร ธนะภพ, และยุทธนา สุทธิธนากร. การบริหารโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559;11: 2-11.