การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของอุบัติเหตุจากการจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย

Main Article Content

Rattawan Siriliang

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสภาพที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับขี่


การไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยกับการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย (2) สร้าง พัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลเชิงสมมติฐานของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูล


เชิงประจักษ์


กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน เป็นผู้ที่เคยและไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการจราจร เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า การไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับขี่ การไม่ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.27 ถึง 0.92 (2) โมเดลเชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ค่า = 44.13, df = 35, p-value = 0.14, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, RMSEA = 0.02 โดยตัวแปรสาเหตุในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย ได้ร้อยละ 70.0 และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ พบว่า พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย มีขนาดอิทธิพลทางตรงบวกสูงสุดกับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

เอกสารอ้างอิง

วัฒนวงศ์ รัตนวราห และคณะ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสวมใส่หมวกนิรภัยโดยใช้สมการโครงสร้างพื้นฐานทฤษฏีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในสังคมเมืองและชนบท. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุรนารี.

ธนัญชัย ยศอาจ. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกในเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 15 (2) ,7-12.

พัทธนันท์ คงทอง และสมหญิง สุคนธ์. (2556). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ : กรณีศึกษาชุมชนตำบลมิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 5 (9) ,1-6.

นัพวุฒิ ชื่นบาล และคณะ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

อรุณประไพร วรรณบุตร และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมใส่หมวกนิรภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

กวี เกื้อเกษมบุญ. (2545). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรทางถนน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี.

วาสนา สายเสมา. (2548). พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อลิสา จันทร์เรือง. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา เหมือนเพชร และคณะ. (2552). ความรู้และเจตคติต่อการขับขี่ยานพาหนะอย่างปลอดภัยของ

พนักงานภายในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สาลินี นิยมชาติ. (2553). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองจันทรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยบูรพา.

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุรนารี.

Cook, D. I. Mulrow, C. D, & Haynes, R. B. (1997). Systematic review : Synthesis of best evidence for clinical decision. Annual Internation medicine, 126, 376-380.

Heinrich, H. W. (1980). Domino Theory. Retrieved September 2, 2015, from http://www.ipesp.ac.th.

Matthieu de Lapparent. (2005). Empirical Bayesian analysis of accident severity for

motorcyclists in large French urban areas. Retrieved September 2, 2015, from http://www.elsevier.com/locate/aap.

Ozkan T, Lajunen T, Dogruyol B, Yıldırım Z, Çoymak A. (2012). Motorcycle accidents, rider behaviour, and psychological models. Accident Analysis & Prevention; 49(0):124-32.