การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อุไรพร โคตะมี
นิรุวรรณ เทรินโบล์
สุทิน ชนะบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบันทึกเวชระเบียน 2.)เพื่อพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพ และ 3.) เพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี มีกระบวนการ 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล ประชากรที่ศึกษา จำนวน 40 คน ศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2558 – กรกฎาคม 2559  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 แบบตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยนอกข้อที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด คือ ประวัติการเจ็บป่วย (ร้อยละ 89.02) ข้อที่มีความสมบูรณ์น้อยที่สุดคือการรักษาการตรวจเพื่อวินิจฉัย (ร้อยละ78.59)  และเวชระเบียนผู้ป่วยในพบว่าข้อมูลเนื้อหาอื่นๆของใบสรุปการจำหน่ายและส่วนประกอบอื่นๆ มีความสมบูรณ์มากที่สุด(ร้อยละ96.67) ข้อที่มีความสมบูรณ์น้อยที่สุด คือการบันทึกความก้าวหน้าการดำเนินโรคและบันทึกคำสั่งการรักษาของแพทย์ (ร้อยละ61.39) ส่วนค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติและการมีส่วนร่วมพบว่าหลังดำเนินงานค่าคะแนนเพิ่มขึ้นทั้ง3 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ((p- value = 0.002, <0.001, 0.003 ตามลำดับ)  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพ พบว่า 1) ทีมสหวิชาชีพมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น 2) มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน 3) มีการบันทึกข้อมูลเวชระเบียนได้ถูกต้อง ครบถ้วน มากขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วมที่ดีของทีมสหวิชาชีพ ก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  และการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ส่งผลให้ร้อยละความสมบูรณ์ของเวชระเบียนสูงขึ้น คุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ครบถ้วน สมบูรณ์ขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (ร่าง) เกณฑ์การประเมินสาหรับการรับรองขั้นก้าวหน้า

(Advanced HA)ตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติ

ครบ 60 ปี 2556 [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ท.: 2556 [สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2558]. 223: แหล่งข้อมูล:

www.jvnkp.net/km/advance%20HA.pdf.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคู่มือแนวทางการ

บันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน(Medical record guideline) ฉบับ

ปรับปรุงครั้งที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2557.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี. สรุปผลการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยใน

ประจำปีงบประมาณ 2557; วันที่ 3 มีนาคม 2557; สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต8 อุดรธานี.

อุดรธานี 2557.

พิสมัย สุทธิพันธ์ตระกูล. การประชุมปฏิบัติการ การตรวจสอบเวชระเบียน; วันที่ 5 ตุลาคม 2558 ; ณ

ห้องประชุมสุทธิสมณวัตร โรงพยาบาลไชยวาน.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคู่มือแนวทางการ

บันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน(Medical record guideline) ฉบับ

ปรับปรุงครั้งที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2557.

กาญจนา พุทธรักษา. ผลของโปรแกรมการจัดการความรู้ต่อสมรรถนะของทีมสหวิชาชีพด้าน

การบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี[วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม:

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553

ประวีณ พิมพ์หอม. ผลของโปรแกรมการจัดการความรู้ของทีมสหวิชาชีพด้านการบันทึกเวช

ระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย.[วิทยานิพนธ์]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555

จีระพันธ์ สุขขี, อารยา ประเสริฐชัย, นิตยา เพ็ญศิรินภา. ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการทำงานที่

สัมพันธ์กับผลการบันทึก เวชระเบียนของแพทย์โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิจิตร. การประชุมวิชาการ

เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 23 [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม

;23:941-948. เข้าถึงได้จาก:

http://qmis.stou.ac.th/qa/EQA_3/KPI_EQA/KPI_3/10_Health/54/34_Jirapan.pdf

ศศิธร ไชยสัจ, นพกร จงวิศาล, อารี บุตรสอน. การจัดการคุณภาพฐานข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการ

ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ.[วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม; 2554

เยาวลักษณ์ จันแดง, วันชัย ล้อกาญจนรัตน์. ความสมบูรณ์ในการบันทึกเวชระเบียนในโรงพยาบาล

อุตรดิตถ์. วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2558];24:1-10.

เข้าถึงได้จาก:http://digi.library.tu.ac.th/journal/0237/24-3-Sep-Dec-2552.pdf

เชี่ยวชาญ สระคูพันธ์, ดวงเดือน ศรีมาดี, หนูทัศน์ ผาวิรัตน์, กษวรรณ เทียมวงค์. การพัฒนาการบันทึก

เวชระเบียนโดยการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ โรงพยาบาลเมืองสรวง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

[อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559];2:1198-1204. เข้าถึงได้จาก:

http://hdl.handle.net/11228/142

วิลาสินี จิตคติ. การพัฒนารูปแบบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนย่อยผู้ป่วยในระดับ

เขต ของโรงพยาบาลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2557;7(1):100-