ความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด: กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้

Main Article Content

Wilasinee Thongbu
Pornnapa Suggaravetsiri
Sunisa Chaiklieng

บทคัดย่อ

           การศึกษาแบบย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ จำนวน 9 อำเภอ ซึ่งขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยตามรหัสโรค ได้แก่ T60.0, T60.2, T60.3, T60.4, T60.8 และT60.9 จากฐานข้อมูล 43 แฟ้มของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 30 ธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และความชุกต่อเกษตรกรหนึ่งแสนคน


            ผลการศึกษาพบอัตราความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ ปี พ.ศ. 2555 - 2559 เท่ากับ 3.15, 18.91, 32.57, 39.55 และ 48.48 ต่อเกษตรกรแสนคน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอัตราความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในประชากรจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ.2559 เท่ากับ 0.84, 3.06, 5.65, 8.33 และ 7.11 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งระดับโซนและระดับจังหวัด โดยในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอโพนทรายมีอัตราความชุกสูงที่สุด เท่ากับ 105.84 ต่อเกษตรกรแสนคน และอำเภออาจสามารถพบอัตราความชุกน้อยที่สุด เท่ากับ 8.89 ต่อเกษตรกรแสนคน โดยช่วงฤดูการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมคือเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี พบอัตราความชุกสูงที่สุด


           การศึกษาครั้งนี้พบว่าความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ดสูงกว่าในกลุ่มประชากรทั่วไปกว่า 4 เท่า และอำเภอโพนทรายในโชนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ดพบความชุกสูงกว่าเป็น 10 เท่า ดังนั้นจึงเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องมีระบบการเฝ้าระวังสุขภาพ ทั้งโดยการรายงานโรคและการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องในเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูก การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการสอบสวนโรคเพื่อหาสาเหตุและแนวทางป้องกันโรค ลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biographies

Pornnapa Suggaravetsiri, สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Department of Epidemiology

Sunisa Chaiklieng, ผู้รับผิดชอบบทความ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Department of Occupational Health and Safety

Faculty of Public Health

References

จมาภรณ์ ใจภักดี, สุภาพร ทุยบึงฉิม, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. ระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่รักษาในโรงพยาบาลเลยและโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น พ.ศ. 2548. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 2548;14(1).

สุภาพร ทุยบึงฉิม. คุณภาพข้อมูลการเฝ้าระวังทาระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จังหวัดอุดรธานี ปี 2549-2550.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 2551;16(1).

สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด; 2559.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2557.นนทบุรี; 2557.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2559. นนทบุรี; 2559.

อภิมัณฑ์ สุวรรณราช และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตราย ในการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(3).

อำนวย ทิพยศรีราช. คุณภาพข้อมูลผู้ป่วยโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ปี 2547. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่; 2550.